โครงการวิจัยประเภทใดบ้าง ที่ต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

การวิจัยในมนุษย์ทุกโครงการต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไม่ว่าจะเป็น การเก็บสิ่งส่งตรวจ ตัวอย่างชีวภาพ จากอาสาสมัครหรือศพ การสัมภาษณ์ ตอบคำถามในแบบสอบถาม เป็นต้น

การพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีกี่ประเภท

มี 3 ประเภทการพิจารณา
1. การพิจารณาโครงร่างการวิจัยที่เข้าข่ายการยกเว้น (Exempt review)
2. การพิจารณาโครงร่างการวิจัยที่เข้าข่ายการพิจารณาแบบเร่งด่วน (Expedited review)
3. การพิจารณาโครงการที่เข้าข่ายการพิจารณาแบบปกติ(Full board review)

งานวิจัยประเภทใดบ้าง ที่ไม่ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

1. การวิจัยระบบงาน ที่หน่วยงานทำสัญญาว่าจ้างหน่วยงานภายนอกมาประเมินเพื่อพัฒนาธุรกิจ โดยใช้ข้อมูลภายในของหน่วยงาน ไม่เปิดเผยผลการวิจัยสู่สาธารณะ
2. การสืบค้นข้อมูลในวารสาร/การทบทวนวรรณกรรม
3. ข้อมูลภายในหน่วยงาน ที่จัดทำขึ้นเพื่อการบริหารจัดการ เช่น การประเมินการเรียนการสอน, การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นต้น 4. การตอบแบบสอบถามของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการประกันคุณภาพ/พัฒนาคุณภาพ หรือเพื่อพัฒนางานบริการใหม่ (โดยการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เป็นไปโดยความสมัครใจ ไม่ล่วงละเมิดความป็นส่วนตัวและมีการรักษาความลับ) 5. การสอบถามข้อมูล/ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือนโยบาย ที่ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลหรือความคิดเห็นของบุคคล เช่น การติดต่อการให้ยืมระหว่างห้องสมุด หรือ การขึ้นราคาวารสาร เป็นต้น

งานวิจัยประเภทการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต้องขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือไม่

มี 2 กรณี คือ
1. ในกรณีที่การวิจัย มีการพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaires) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส่าหรับการวิจัย ซึ่งจะต้องมีการทดสอบ (Try-out) เพื่อตรวจสอบ validity & reliability ของแบบสอบถาม นักวิจัยควรจะส่งโครงการวิจัยมาเพื่อขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ มาขอการรับรองก่อนที่จะท่า try-out โดยระบุกระบวนการ try-out เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย
2. หากเป็นการทดสอบโปรแกรม ว่ามีความบกพร่องที่ส่วนใด โดยเปิดกว้างให้มีผู้ทดลองใช้โดยอิสระ ไม่จำกัด ไม่จำเป็นต้องขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุาย์