รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่
ชื่อบทความ |
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ Game-based Learningบูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ประเภทการตีพิมพ์ |
วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร |
วารสารสังคมพัฒนศาสตร์ |
ผู้แต่ง |
นิดาริน จุลวรรณ
|
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ |
30 ธ.ค. 2567 |
ปีที่ |
7 |
ฉบับที่ |
2 |
หมายเลขหน้า |
45-55 |
ลักษณะบทความ |
|
Abstract |
บทความวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ GBL บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ Game-based Learningบูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ Game-based Learningบูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดวิเคราะห์ ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานออกแบบและพัฒนาร่างรูปแบบการเรียนการสอนโดยโดยใช้ Game-based Learningการทดลองใช้และการประเมินและปรับปรุง ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้ Game-based Learning บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณและการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้สําเร็จ โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ GBL บูรณาการวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พบว่าผลการเปรียบเทียบความสามารถในการฟังอย่างมีวิจารณญาณ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการเรียนการสอนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |