รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ : กรณีศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ และการจัดการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ผู้แต่ง วิศรุตา ทองแกมแก้ว
บูฆอรี ยีหมะ
ไชยา เกษารัตน์
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 28 ธ.ค. 2567
ปีที่ 14
ฉบับที่ 3
หมายเลขหน้า 227-240
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการท้องถิ่น ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1) ผู้ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อหลักสูตรในระดับสูง คือ ผู้ใช้บัณฑิตภาครัฐ 13 คน 2) ผู้ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อหลักสูตรค่อนข้างน้อย คือ ผู้ใช้บัณฑิตภาคเอกชน 6 คน 3) ผู้ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรน้อยแต่มีผลกระทบต่อหลักสูตรในระดับสูง คือ นักวิชาการ และนักศึกษาปริญญาตรี 36 คน และ 4) ผู้ที่มีอิทธิพลต่อหลักสูตรในระดับสูงแต่มีผลกระทบต่อหลักสูตรค่อนข้างน้อย คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา พ.ศ.2566-2570 ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พ.ศ.2566-2570 ยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พ.ศ.2566-2570 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้สอน 16 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร คือ PLO1 เชื่อมโยงความสัมพันธ์แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์อย่างถ่องแท้เพื่อเป็นฐานในการออกแบบนโยบายสาธารณะ PLO2 ประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสารและเครื่องมือหรือเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านกระบวนการวิจัยทางนโยบายสาธารณะเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาท้องถิ่นได้อย่างเชี่ยวชาญ PLO3 ออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการปัญหาท้องถิ่นได้อย่างเชี่ยวชาญ PLO4 บูรณาการองคาพยพเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นภายใต้ หลักธรรมาภิบาล PLO5 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่น และ PLO6 สร้างความรู้ใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ผ่านทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการออกแบบนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่นด้วยกระบวนการวิจัยอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม