ชื่อบทความ | การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้ออันเกี่ยวเนื่องจากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพตาลโตนด |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ |
ผู้แต่ง |
ภัชชนก รัตนกรปรีดา วรพล หนูนุ่น |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 26 ธ.ค. 2567 |
ปีที่ | 17 |
ฉบับที่ | 2 |
หมายเลขหน้า | 123-135 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การประกอบอาชีพตาลโตนดเป็นอาชีพหนึ่งที่ต้องใช้ท่าทางในการทำงาน อาจเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ จึงต้องค้นหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ประกอบอาชีพตาลโตนด กลุ่มคนปอกและคนเคี่ยวตาลโตนด กลุ่มละ 15 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2567 การดำเนินงานประกอบด้วย วิเคราะห์และกำหนดปัญหา รวบรวมข้อมูล สร้างตัวแบบหาคำตอบจากตัวแบบ วิเคราะห์และแก้ไขตัวแบบ และการนำไปใช้เป็นระยะเวลา 1 เดือน และประเมินผลการใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มคนปอกตาลและกลุ่มคนเคี่ยวตาลโตนด มีประสบการณ์ทํางานเฉลี่ย 19.87 และ 16.53 ปี ชั่วโมงการทํางานต่อวันเฉลี่ย 4.47 และ 10.58 ชั่วโมง มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งหมด และร้อยละ 93.33 ตามลำดับ ผลการพัฒนาได้รูปแบบ 2 กิจกรรมหลัก คือ 1) การควบคุมการบริหารจัดการ ได้แก่ การให้ความรู้ การปรับปรุงท่าทางการทำงาน การหยุดพักสั้นๆ การสลับกันทำงาน และ 2) การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยการสวมถุงมือ ก่อนและหลังการทดลองใช้ ประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน REBA กลุ่มคนปอกตาลโตนด มีความเสี่ยงไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มคนเคี่ยวตาลโตนด มีความเสี่ยงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจมาก (µ = 4.10, 4.19) หน่วยงานสามารถนํารูปแบบไปประยุกต์เป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อต่อไป |