ชื่อบทความ | การวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลสมการโครงสร้างของความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ |
ผู้แต่ง |
กันยปริณ ทองสามสี อิสระ ทองสามสี |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 26 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 14 |
ฉบับที่ | 2 |
หมายเลขหน้า | 335-349 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลสมการโครงสร้างของความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย ประชากรคือ งานวิจัยเชิงปริมาณที่ศึกษาเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2564 จำนวน 36 เรื่อง โดยใช้การคัดเข้าและคัดออกตามเกณฑ์ PRISMA 2020 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พบว่า ข้อคำถามทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่า .50 โครงการวิจัยผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ข้อมูลทั้งหมดวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลสมการโครงสร้างแบบขั้นตอนเดียวโดยวิธีการวิเคราะห์เส้นทางและการวิเคราะห์ตัวแปรกำกับ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ webMASEM ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (B = .157, p = .030) ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ฺB = .094, p = .070) เจตคติเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาศรษฐกิจพอเพียง (B = .381, p < .001) และความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านทางเจตคติเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (B = .060, p = .042) ผลการทดสอบอิทธิพลกำกับพบว่า ขนาดกลุ่มตัวอย่างมีอิทธิพลกำกับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลระหว่างความรู้กับเจตคติเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง |