ชื่อบทความ | การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเอส คิว โฟร์ อาร์ ร่วมกับนิทานพื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารพุทธศาสตร์ มจร. อุบลราชธานี, |
ผู้แต่ง |
ปรีดา เบ็ญคาร |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 30 ส.ค. 2567 |
ปีที่ | 6 |
ฉบับที่ | 2 |
หมายเลขหน้า | 1321-1336 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการอ่านภาษาไทยระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้าน อิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบการเขียนภาษาไทยระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทาน พื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดทุ่งหวังใน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จํานวนนักเรียน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์ 2) หนังสือนิทานพื้นบ้าน อิเล็กทรอนิกส์ 3) แบบทดสอบการอ่าน 4) แบบทดสอบการเขียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) การเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้านอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค เอส คิว โฟร์อาร์ร่วมกับนิทานพื้นบ้าน อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากที่สุด |