ชื่อบทความ | วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ และกข 43 ระโนด |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | รายงานสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ |
ผู้แต่ง |
นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ เชาวนีพร ชีพประสพ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 11 มี.ค. 2565 |
ปีที่ | 7 |
ฉบับที่ | 7 |
หมายเลขหน้า | 230-235 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | ข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ (PR 43) และกข 43 ระโนด (RD 43) เป็นข้าวสายพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัดสงขลา และนิยมบริโภคในชุมชน นำข้าวทั้งสองสายพันธุ์ที่ไม่ผ่านกระบวนการหุงและผ่านกระบวนการหุงมาสกัดด้วย 95% ethanol เปรียบเทียบสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่า การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดของข้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการหุง สายพันธุ์ กข 43 ปากรอ มีค่าสูงกว่าข้าวสายพันธุ์ กข 43 ระโนด เท่ากับ 0.35±0.04 และ 0.14±0.01 mg GAE/g ส่วนข้าวที่ผ่านกระบวนการหุงแล้วข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ และสายพันธุ์ กข 43 ระโนด มีปริมาณฟินอลิกทั้งหมดใกล้เคียงกัน คือ 0.23±0.00 และ 0.22±0.00 mg GAE/g ตามลำดับ ผลการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH (antioxidant, DPPH-radical scavenging activity assay) พบว่าข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ และกข 43 ระโนด ที่ไม่ผ่านกระบวนการหุง มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ไม่แตกต่างกัน 10.98±0.11 และ 10.83±0.22 %Inhibition ตามลำดับ ส่วนข้าวที่ผ่านกระบวนการหุง มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ลดลงแต่ข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอมีค่าสูงกว่า เท่ากับ 6.54±0.41 และ 4.84±0.62 %Inhibition ตามลำดับ ดังนั้นข้าวที่ควรนำมาบริโภคมากที่สุด คือข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ เนื่องจากเมื่อผ่านกระบวนการหุงแล้วจะยังคงได้รับประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระ คำสำคัญ: ข้าวพื้นเมือง, ข้าวสายพันธุ์ กข 43 ปากรอ, ข้าวสายพันธุ์ กข 43 ระโนด, สารต้านอนุมูลอิสระ |