รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ประสิทธิผลของการสวดมนต์เพื่อช่วยในการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลกระแสสินธุ์อำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม ระดับชาติ ครั้งที่ 20 (CSD 20) มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง วรพล หนูนุ่น
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 30 ก.ค. 2564
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 103-115
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสวดมนต์เพื่อช่วยในการนอน
หลับของผู้สูงอายุ ทำการศึกษากับอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุใน ต.กระแสสินธุ์(642 คน) อ.
กระแสสินธุ์ จ.สงขลา เป็นกลุ่มทดลอง และใน ต.จะทิ้งพระ (663 คน) อ.สทิงพระ จ.สงขลา เป็นกลุ่ม
ควบคุม โดยทั้ง 2 พื้นที่มีลักษณะวัฒนธรรมชุมชนคล้ายคลึงกัน คำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปจี พาวเวอร์
ได้ขนาดตัวอย่างกลุ่มละ 64 คน กำหนดให้มีคุณลักษณะประชากรคล้ายกัน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือมีอายุ
60 ปีขึ้นไป ศาสนาพุทธ พูดคุยสื่อสารได้ดีและสมัครใจ เกณฑ์คัดออกคือ มีสภาวะการเจ็บป่วยที่ไม่
สามารถให้ข้อมูลได้ และเป็นผู้ที่ขอถอนตัวในภายหลัง ดำเนินการให้กลุ่มทดลองสวดมนต์ตามแบบที่
กำหนดเพียงกลุ่มเดียวและเก็บรวบรวมข้อมูลไปพร้อมกันทั้ง 2 กลุ่ม ตลอดระยะเวลา 20 วัน ต่อเนื่องกัน
ในช่วงวันที่ 4 เมษายน –18กรกฎาคม 2563ด้วยแบบบันทึกที่พัฒนาขึ้น และผ่านการตรวจสอบคุณภาพ
เครื่องมือด้านความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ3 ท่าน ทำซ้ำจนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 ขึ้นไปจึงนำไปใช้
ในส่วนที่ต้องหาค่าความเชื่อมั่น ได้นำไปทดลลองใช้30 ชุด ได้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.82 มี 3
ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และข้อมูลปัญหาการนอนหลับ 2) แบบบันทึกการสวด
มนต์และผลการนอนหลับด้วยตนเอง และ) 3 บทสวดมนต์ จำนวน 6 บทได้แก่ 1) บทเจริญพระพุทธมนต์
2) บทชินบัญชร 3) บทชัยมงคลคาถา 4) บทชัยปริตร 5) บทพุทธคุณ 6) บทแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลโดยส่วน
ที่ 3 จะไม่ให้ในกลุ่มควบคุมตั้งแต่เริ่มต้น จนกว่าจะเสร็จสิ้นการทดลองและมีผลไปในทางทีดีจึงจะให้เพื่อ
ดำรงไว้ซึ่งหลักยุติธรรมในจริยธรรมของการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อใช้อธิบาย
ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติไคสแควร์ทดสอบความคล้ายคลึงกันของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าทีในการ
ทดสอบประสิทธิผลของการสวดมนต์และใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เพื่อหาขนาดและทิศทาง
ความสัมพันธ์ของการสวดมนต์กับการนอนหลับ ความสุข และความแข็งแรง ผลการวิจัยพบว่า
คุณลักษณะของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นประเด็นอายุ ที่กลุ่มทดลองมีอายุ
เฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 4.57 ปี และพบว่าการสวดมนต์ตามแบบแผนในการวิจัยนี้มีประสิทธิผลต่อการ
103
นอนหลับของผู้สูงอายุทั้งนี้ยังได้พบขนาดและทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างการสวดมนต์กับการนอนหลับ
ระดับความสุข และระดับความแข็งแรง พบว่าการสวดมนต์มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการนอนหลับ ที่
ขนาด 0.248 การนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความสุข และความแข็งแรง ที่ขนาด 0.884 และ
0.761ตามลำดับ และการทดสอบความสุข พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความแข็งแรง ที่ขนาด0.843
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกการทดสอบข้างต้น ดังนั้นจากฐานความเชื่อเดิมเรื่องอานิสงส์
ของการสวดมนต์ที่มีมากและหลายด้านด้วยแล้ว ในการวิจัยนี้ยังพบว่าการสวดมนต์ช่วยในการนอนหลับได้
ด้วยและการนอนหลับเป็นปัจจัยทางบวกต่อความสุขและความแข็งแรงของผู้สูงอายุเป็นอย่างดี จึงสมควร
ที่จะส่งเสริมกิจกรรมการดูแลตนเองทางเลือกของผู้สูงอายุด้วยการสวดมนต์อย่างจริงจัง ซึ่งนอกจากจะเป็น
การลดการใช้ยา ลดภาระในระบบสุขภาพโดยรวมลงแล้ว ยังจะเป็นการสร้างเสริมสุขภาพครบทุกมิติแก่ผู้
สูงวัยอย่างเป็นองค์รวมที่จะนำไปสู่สุขภาพวะที่แท้จริงได้ และควรจะได้ขยายผลการศึกษาไปยังกลุ่มวัยอื่น
และผู้ที่นับถือศาสนาอื่นด้วยการปรับบทสวดมนต์ให้เหมาะสมและทดสอบซ้ำ