ชื่อบทความ | การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษาที่มีต่อทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | วารสารวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี |
ผู้แต่ง |
จุไรศิริ ชูรักษ์ |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 5 ก.พ. 2567 |
ปีที่ | 6 |
ฉบับที่ | 1 |
หมายเลขหน้า | 2235-2246 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทาง ภาษากับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกม ทางภาษากับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อเป รียบเทียบทักษะการท างานกลุ่มของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกม ทางภาษากับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านวังใหญ่อ าเภอเทพา จังหวัดสงขลา จ านวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้2) แบบทดสอบวัดทักษะการฟัง 3) แบบทดสอบวัดนทักษะการพูด 4) แบบประเมินทักษะการท างานกลุ่ม และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย( )ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าร้อยละและสถิติการทดสอบที(t-test)ผลการวิจัย พบว่า1) ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยส าคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการท างานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยส าคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคทีมแข่งขัน (ทีจีที) โดยใช้เกมทางภาษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 |