ชื่อบทความ | การบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง |
---|---|
ประเภทการตีพิมพ์ | ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร | การประชุมวิชาการครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal |
ผู้แต่ง |
อริญรดา แก้วคง รุจิราพรรณ คงช่วย |
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ | 25 ธ.ค. 2564 |
ปีที่ | ครั้งที่ 1 |
ฉบับที่ | ครั้งที่ 1 |
หมายเลขหน้า | 667-677 |
ลักษณะบทความ | |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 การศึกษาการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง จำนวน 3 โรงเรียน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามโรงเรียนและสุ่มครูในแต่ละโรงเรียนด้วยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ส่วนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง จำนวน 3 โรงเรียน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า ttest การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (OneWay ANOVA) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดพัทลุง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสากล และควรวางแผนงานทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ครูผู้สอนควรได้รับการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิชาการผ่านการประเมินในระดับชาติ และการจัดการเรียนการสอนควรมุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติให้อยู่ในระดับสูง เป็นต้น |