รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์สำหรับวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา Label and Packaging Design for Community Enterprises: A Case Study of Herbal Cosmetics Products, Tambon Khao Roop Chang, Mue
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 21 : “การพัฒนา : การปรับตัว : ความยั่งยืน”
ผู้แต่ง ประภาพร ยางประยงค์
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 1 ก.พ. 2566
ปีที่ 21
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 53-63
ลักษณะบทความ
Abstract บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร 2) เพื่อพัฒนาฉลากและบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อฉลากและบรรจุภัณฑ์ใหม่ของเครื่องสำอางสมุนไพร ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร โดยใช้เทคนิคการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวนตูลเครื่องสำอางสมุนไพร จำนวน 30 ราย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการประเมินระดับความพึงพอใจผู้บริโภคต่อฉลากและบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 ราย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์โดยสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน
ผลวิจัย คือ 1) ศักยภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร โดยเทคนิคการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค พบจุดแข็ง คือ ใช้วัตถุดิบที่มีมาตรฐาน ผู้ผลิตมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ มีจุดอ่อน คือ ฉลากไม่แสดงข้อมูลที่ครบถ้วนเกิดรอยย่นไม่สวยงาม และไม่มีบรรจุภัณฑ์แพคคู่ มีโอกาส คือ ภาครัฐให้การสนับสนุน และกระแสนิยมใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และมีอุปสรรค คือ ช่องทางการจัดจำหน่ายมีน้อย และวัตถุดิบบางชนิดมีราคาสูง 2) เกิดฉลากและบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่มีความโดดเด่น สะดุดตา ทันสมัย ดึงดูดใจผู้บริโภค และมีบรรจุภัณฑ์แพคคู่ของผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมนวด และ 3) ระดับความพึงพอใจ ของผู้บริโภคต่อฉลากและบรรจุภัณฑ์ใหม่ในภาพรวม อยู่ที่ระดับมาก (x ̅) = 3.78 และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.90

คำสำคัญ: ฉลาก, บรรจุภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร