รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการระดับชาติ“ราชภัฏกรุงเก่า” ครั้งที่ 6 วันที่ 21 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ผู้แต่ง วรัญญา ตูแวหมะ ปนัฐตา เจนชูบัว อานัธดา สือนิ อมิตา สือนิ พิพัฒน์ สุวรรณ
วิศรุตา ทองแกมแก้ว
บูฆอรี ยีหมะ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 21 ธ.ค. 2566
ปีที่ -
ฉบับที่ -
หมายเลขหน้า 256-266
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมกรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา และ 4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนในชุมชนย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 340 คน ซึ่งได้ทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามในการเก็บรวบรวม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความร่วมมือในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.52 , S.D.= 0.58) 2) ระดับภาวะผู้นำในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.59, S.D.= 0.54) 3) ระดับความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.55 , S.D.= 0.57) 4) ความร่วมมือส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติ และภาวะผู้นำส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
กรณีศึกษา : ย่านเมืองเก่าสงขลา จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (β1 = .310, p<.001) (β2 = .419, p<.001) และตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความสำเร็จในการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติอยู่ที่ร้อยละ 33.6