รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การเพาะเห็ดเป๋าฮื้อด้วยขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์ที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมการทำกรงนกเขาชวา
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผู้แต่ง จักรกริช อนันตศรัณย์
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 2 ต.ค. 2566
ปีที่ 25
ฉบับที่ 3
หมายเลขหน้า 65-74
ลักษณะบทความ
Abstract กระถิ่นณรงค์เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมการทำกรงนกเขาชวา โดยใช้ทำหัวตะขอกรงนก ซึ่งต้องผ่านการกลึงอย่าง
ประณีต ทำให้เกิดขี้เลื่อยในกระบวนการผลิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์ที่เหลือใช้
จากการทำกรงนกเขาชวามาเป็นส่วนประกอบของวัสดุเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ ในการศึกษานี้ผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารากับขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์
ในอัตราส่วนที่ต่างกัน (100:0, 75:25, 50:50, 25:100 และ 0:100) แล้วหมักเป็นระยะเวลา 14 วัน ก่อนนำมาอัดใส่ถุงพลาสติกเป็น
ก้อนวัสดุเพาะเห็ดขนาด 1 กิโลกรัม หลังจากถ่ายหัวเชื้อเห็ดเป๋าฮื้อลงในวัสดุเพาะแล้ว บ่มในที่มืดที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 45 วัน เพื่อ
สังเกตการเจริญของเส้นใยเห็ด ซึ่งพบว่าการเจริญของเส้นใยเห็ดในวัสดุเพาะที่แตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
หลังจากการเปิดดอกเห็ด เก็บดอกเห็ดเป๋าฮื้อที่ระยะเวลา 20, 40 และ 60 วันเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณ และคุณภาพของดอกเห็ด
ซึ่งพบว่าอัตราส่วนของขี้เลื่อยไม้ยางพารากับขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อน้ำหนักสดของดอกเห็ด ความกว้างของหมวกดอก
ความสูงของดอกเห็ด และความสมบูรณ์ของดอกเห็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเห็ดเป๋าฮื้อที่เพาะด้วยวัสดุเพาะที่มีอัตราส่วนของ
ขี้เลื่อยไม้ยางพารากับขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์เท่ากับ 50:50 มีน้ำหนักสดของดอกเห็ด ความกว้างของหมวกดอก ความสูงของดอกเห็ด
และความสมบูรณ์ของดอกเห็ดสูงสุดในทุกระยะเวลาของการศึกษา งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มมูลค่าของขี้เลื่อย
ไม้กระถินณรงค์ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการทำกรงนกเขาชวา โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ