รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีแบบเคลื่อนที่ ปลอดภัย และต้นทุนต่ำ
ประเภทการตีพิมพ์ ประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ 20 มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง วรพล หนูนุ่น
ภัชชนก รัตนกรปรีดา
อนุมัติ เดชนะ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 30 ก.ค. 2564
ปีที่ 1
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 147 – 166
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีแบบเคลื่อนที่
ได้ปลอดภัยและต้นทุนต่ำ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ที่ใช้เพียง 6
จาก 7 ขั้นตอนของการวิจัยเชิงดำเนินงาน ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 31 พฤศจิกายน
2563 ในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบของ ทม.นราธิวาส ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและผู้ให้
ข้อมูลที่ได้ทดลองใช้เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีนี้แล้ว จำนวน 20 คน และอีก 20 คนที่ไม่ได้
เกี่ยวข้องและไม่ได้ทดลองใช้มาก่อน รวมเป็น 40 คน ด้วยความสมัครใจ ทั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง
ยูวีและเครื่องมือประเมิน สร้างขึ้นโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและขอคำแนะนำจาก
ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 คน เครื่องมือในการประเมินผล ประกอบด้วย1) แบบบันทึก
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำ และ 2) แบบบันทึกการสังเกตการณ์ ซึ่งได้จากการ
ทดลอง ที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและทำซ้ำเพื่อให้เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีที่ดีที่สุด ข้อมูลเชิง
ปริมาณนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการ
วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาเดิมร่วมกับแกนนำชุมชน นั้นมี
เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีแต่เป็นแบบตั้งอยู่กับที่ไม่มีแบบเคลื่อนที่และมีราคาแพง แต่พบว่ามี
ความปลอดภัยสูงอยู่แล้ว พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปพัฒนาเครื่องมือฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี
เพื่อให้ได้ในราคาประหยัดกว่าในท้องตลาด ใช้พลังงานและต้นทุนที่ถูกลง ศึกษาวัสดุที่นำมาใช้ในการ
ทำเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง และศึกษาระดับของหลอดงแสงยูวีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยใช้เวลา
ไม่นานเกิน 5-10 นาที ในการฆ่าเชื้อโรค เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวี
แบบเคลื่อนที่ โดยใช้หลอดยูวีขนาด 6 โวลต์เป็นตัวกำหนดแสงยูวีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค ตลอดจนมี
การใช้งานที่สะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้ออกแบบโดยใช้วงจรแบบผสมในการต่อวงจร เมื่อเดินสายต่อวงจร หลังจากที่ต่อวงจรยีวี-ซี เสร็จแล้ว ก็ใส่หลอดยูวี 6 โวลต์ ทั้ง 2 หลอด ทั้ง
บนและล่าง วางตะแกรงเหล็กที่ตัดตามขนาดของกล่องที่จะใส่ ที่จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว จึงเสร็จ
สมบูรณ์นำไปทดสอบการใช้งานครั้งแรกในชุมชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมสังเกตการณ์และให้
คำแนะนำ ซึ่งได้มีคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิและแกนนำชุมชนเรื่องให้ติดฉลากคำเตือนในการใช้งาน
มีฉลากแสดงรายละเอียด เช่น ค่าแรงดันกระแสไฟฟ้า ค่าสูงสุด-ต่ำสุด ที่รับได้ คู่มือการใช้ คำเตือน
ความปลอดภัยในการใช้ และให้ออกแบบโดบเก็บสายวงจรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความ
สวยงามและปลอดภัย และให้ปรับเปลี่ยนทิศทางการติดตั้งหลอดยูวีจากนั้นให้ไปทดลองทดสอบใน
ห้องมืดอีกครั้งจนแน่ชัดว่าไม่มีแสงยูวีหลุดลอดออกมาได้และเมื่อได้ดำเนินการจนครบถ้วนแล้วทำให้
ได้เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีแบบเคลื่อนที่ได้ต้นแบบ ที่สามารถใช้งานได้จริง และสามารถฆ่าเชื้อ
โรคได้ในทางทฤษฎี สามารถพกพาเคลื่อนย้ายได้สะดวก ใช้ต้นทุนน้อยกว่าตามจำหน่ายในท้องตลาด
แต่ควรมีการประเมินประสิทธิผลในการฆ่าเชื้อโรคในสถานการณ์จริงด้วย ก่อนจะขยายผลการใช้งาน
เพื่อให้ชุมชนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงการใช้งานได้จริง
คำสำคัญ: เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงยูวีแบบเคลื่อนที่, ปลอดภัยและต้นทุนต่ำ, การมีส่วนร่วมของ
ชุมชน