รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ การวิจัยและพัฒนาสปาฮาลาล: วัฒนธรรมสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ผู้แต่ง อิสระ ทองสามสี
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 30 มิ.ย. 2564
ปีที่ 10
ฉบับที่ 1
หมายเลขหน้า 81-106
ลักษณะบทความ
Abstract การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจองค์ประกอบความคาดหวังของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต่อรูปแบบการให้บริการสปาฮาลาล กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทยอิสลามใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงและความตรง นักวิจัยลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากผู้เข้ารับบริการสปา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพคู่มือสปาฮาลาล โดยเชื่อมโยงกับผลการวิจัยระยะแรก เมื่อนักวิจัยพัฒนาคู่มือสปาฮาลาลแล้ว ได้ส่งเนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ประเมิน 3 ด้าน คือ ความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องกับหลักศาสนา และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง และ 3) ถ่ายทอดความรู้ ประเมินผลการฝึกอบรม และประเมินผลการนำความรู้ไปใช้หลังการฝึกอบรม มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 51 คน จาก 48 ชุมชน หลังจากนั้น 6 เดือน นักวิจัยติดตามการนำความรู้และทักษะไปใช้พัฒนาอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการสปาสามารถจำแนกเป็น 5 องค์ประกอบ โดยผู้รับบริการคาดหวังในองค์ประกอบการให้บริการของพนักงานสูงที่สุด และสามารถพัฒนาคู่มือสปาฮาลาลที่สอดคล้องกับศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม ซึ่งผ่านการประเมินความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องกับหลักศาสนา และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทุกประเด็น ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ผู้ให้บริการสปาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีความพึงพอใจต่อการอบรมการพัฒนาสปาฮาลาลยู่ในระดับมาก ผลการติดตามการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ภายหลังการจัดอบรม พบว่า ส่วนใหญ่ใช้พัฒนาคุณภาพการบริการแก่ลูกค้าในหน่วยงานที่ตนสังกัด และสามารถสร้างรายได้เสริมจากการให้บริการสปาฮาลาลร้อยละ 80.43