รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่
ชื่อบทความ |
การท่องเที่ยววิถีมุสลิม: ความพึงพอใจและการรับรู้สัญลักษณ์ฮาลาล |
ประเภทการตีพิมพ์ |
ประชุมวิชาการระดับชาติ |
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร |
PAYAP UNIVERSITY and UNRN Research Symposium 2022 |
ผู้แต่ง |
นัยนา โง้วศิริ
|
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ |
11 ก.พ. 2565 |
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
- |
หมายเลขหน้า |
289-300 |
ลักษณะบทความ |
|
Abstract |
การเติบโตของจำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลก การมีประชากรมุสลิมที่มีอำนาจซื้อสูงเพิ่มขึ้น และการมีจำนวนประชากรมุสลิมอายุน้อยในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มศาสนาอื่น ๆ ดึงดูดให้หลากหลายประเทศทั่วโลกทั้งประเทศมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ให้ความสนใจต่อการจัดการท่องเที่ยววิถีมุสลิมเพิ่มมากขึ้น งานศึกษานี้มีเป้าหมายหลักเพื่อค้นหาโอกาสของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย จากความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิมจากภูมิภาคอาเซียน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวมุสลิมจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน จำนวน 362 ชุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการให้บริการทางการท่องเที่ยว เนื่องจากการท่องเที่ยววิถีมุสลิมเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่มีรูปแบบเฉพาะ และนักท่องเที่ยวมุสลิมจะเลือกสถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งการรับบริการทางการท่องเที่ยวตามที่ศาสนาอนุญาตเท่านั้น การเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวมุสลิมเป้าหมาย ไม่เพียงช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยว แต่ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวมุสลิมด้วย ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมุสลิมจากภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจโดยรวมต่อการจัดการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระดับมาก และยินดีจะกลับมาท่องเที่ยวซ้ำที่ประเทศไทย ผลการศึกษายังพบอีกว่า ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้ตราสัญลักษณ์ฮาลาล เพื่อสื่อสารการให้บริการที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมุสลิม ควรเลือกใช้ตราสัญลักษณ์ ทดแทนมากกว่าตราสัญลักษณ์รูปแบบอื่น ๆ |