รายละเอียดข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่

ชื่อบทความ ประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ได้จากการหมักเปลือกส้มโอในการยับยั้งแบคทีเรีย
ประเภทการตีพิมพ์ วารสารวิชาการระดับชาติ
ชื่องานประชุมวิชาการ/วารสาร วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ผู้แต่ง ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น
ปวีณา ดิกิจ
วันที่ตีพิมพ์/นำเสนอ 4 ธ.ค. 2564
ปีที่ 13
ฉบับที่ 3
หมายเลขหน้า 704-716
ลักษณะบทความ
Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและคุณสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตจากการหมัก
เปลือกส้มโอเหลือทิ้ง โดยการหมักเปลือกส้มโอเหลือทิ้งร่วมกับน้า ใน 4 อัตราส่วน 1:1 2:1 3:1 และ 4:1 ตามลา ดับ
เป็นเวลา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการเกิดอิมัลชัน (EA) ของน้า หมักจากเปลือกส้มโอ
ในอัตราส่วน 1: 1 มีค่าการเกิดอิมัลชันสูงสุดเท่ากับร้อยละ 51.64 จึงเลือกน้า หมักเปลือกส้มโอที่อัตราส่วน 1:1 ไป
ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเก็บเกี่ยวสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วยวิธีต่างๆ พบว่าการสกัดสารลดแรงตึงผิวชีวภาพด้วย
คลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) ได้ผลผลิตสารสกัดหยาบของ สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ 0.45 กรัมต่อลิตร สารลดแรง
ตึงผิวชีวภาพมีความสามารถในการลดแรงตึงผิวได้ในช่วงพีเอช 4-10 อุณหภูมิระหว่าง 25-121 องศาเซลเซียส ช่วง
ความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ร้อยละ 0-12 โดยน้า หนัก ช่วงความเข้มข้นของ แมกนีเซียมคลอไรด์ร้อยละ
0-0.1 โดยน้า หนัก และช่วงความเข้มข้นของแคลเซียมคลอไรด์ร้อยละ 0-0.4 โดย น้า หนักสาหรับการทดสอบ
ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ พบว่า มีค่า MIC (Minimal Inhibitory Concentration) ของ
เชื้อ E. coli Salmonella sp. S. aureus และ B. cereus เท่ากับ 25 25 6.25 และ 1.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลา ดับ
และค่า MBC (Minimal Bactericidal Concentration) เท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร