ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Curriculm Develoment in Training Teachers Providing Mainstreaming Programs

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. วันทนีย์ บางเสน

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2547
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 253,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนเด็ก , ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดเขตพื้นที่ การศึกษาสงขลาเขต 1 ที่จัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม  2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 1 ที่จัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม  3) หาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 ที่จัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม
             โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร
             แบบแผนการวิจัย ใช้แบบ one  group  pretest- posttest  design   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมระดับการศึกาาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สงขลาเขต 1 จำนวน 31 แห่ง ประกอบด้วยครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ครูเสริมวิชาการ ครูการศึกษาพิเศษ ครูแนะแนว ผู้ช่วยครู กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน แล้วจึงสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับฉลาก 20 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน
             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สำรวจความต้องการอบรม สำหรับครูผู้สอนเด้กที่มีความต้องการพิเศษ ที่จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) แบบประเมินความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร 4) เอกสารประกอบการฝึกอบรม 5) แบบวัดความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรม  6) แบบวัดความรู้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม และ 7) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม
             ผลการวิจัยพบว่า
             1. การหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม ผลการทดลองปรากฏว่า ประสิทธฺภาพหลักสูตรฝึกอบรม เท่ากับ 82.07/81.17 ซึ่งแสดงว่าหลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
              2.  การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าอบรม ผลจากการทดสอบปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังการอบรมสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนการอบรม  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรนี้ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
             3.  การประเมินความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมในประเด็นต่างๆพบว่าหลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เรียนร่วมอยู่ในระดับมาก  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ในระดับมาก และผู้เข้ารับการอบรมมีความคิดเห็นว่าได้รับความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์จากการอบรม ในระดับมาก

Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU