การศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีวัตถุเพื่อสำรวจสายพันธุ์และเก็บรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บริเวณแหล่งน้ำ พื้นดิน วัสดุต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 8 สถานี นำตัวอย่างที่เก็บมาเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว BGA, BG-11, Allen is และ NS III บ่มภายใต้แสงฟลูออเรสเซน เป็นเวลา 7 วัน ทำการแยกสาหร่ายให้บริสุทธิ์บนอาหารแข็ง และตรวจลักษณะทางสัณฐานวิทยา ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เพื่อวินิจฉัยหมวดหมู่ตั้งแต่ระดับ ดิวิชัน อันดับ วงศ์ สกุล และชนิด ตามแนววินิจฉัยของ Smith (1950), Desikachary (1959), Komárek และ Anagnostigis (1998), กาญจนภาชน์(2527), ลัดดา (2544) และมัณฑนา (2543) ผลการสึกษาพบ 30 สกุล 66 ชนิด อยู่ในดิวิชัน Cyanophyta 21 สกุล 50 ชนิด ดิวิชัน Chlorophyta 9 สกุล 16 ชนิด การกระจายของสาหร่ายมในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Oscillatoria มีการกระจายมากที่สุด คิดการกระจายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาได้แก่ Nostoc และ Calothrx คิดเป็นร้อยละ 62.5 ในส่วนของสาหร่ายสีเขียวสกุล Scendesmus มีการกระจายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมาได้แก่ Chlorela