การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียงของเด็ปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ปลูกฝังค่านิยมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์ปลูกฝังค่านิยมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 40 นาที รวม 16 ครั้ง แบบวัดค่านิยมเศราฐกิจพอเพียง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง / ครูประจำชั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - Dependent) ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์ปลูกฝังค่านิยมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ปลูกฝังค่านิยมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพีง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01