ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเครือข่ายของโรงเรียนขนาดเล็กในการจัดการเรียนรู้ ชุดโครงการวิจัยพัฒนาวิชาชีพครู เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ปีงบประมาณ 2548
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ An application of sufficiency economy-based instruction to establish a small school network

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการดร. อารี สาริปา
ผู้ร่วมวิจัยนาง เกศริน มนูญผล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง , โรงเรียนขนาดเล็ก , เครือข่าย , การจัดการเรียนรู้ , ผู้กระตุ้นประสาน
บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเครือข่ายของโรงเรียนขนาดเล็กในการจัดการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนากระบวนการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสร้างเครือข่ายของโรงเรียนขนาดเล็กในการจัดการเรียนรู้และ 3)  ติดตาม ประเมินความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของเครือข่าย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                ผลการวิจัยในมิติวิจัย พบว่า 1) กระบวนการศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็กและสาเหตุของปัญหา ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ การแสวงหาผู้ให้ข้อมูล  เริ่มต้นค้นหา  สร้างกัลยาณมิตร  และร่วมคิดรวมพลัง  สำหรับปัญหาการจัดการเรียนรู้และสาเหตุของปัญหา จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร  นักเรียน  ทรัพยากร และการบริหาร 2) กระบวนการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเครือข่ายของโรงเรียนขนาดเล็กในการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือ จัดกิจกรรมสัมพันธ์สร้างสัญลักษณ์เครือข่าย  ย้ำจุดมุ่งหมายร่วม  รวมกลุ่มทำกิจกรรม นำเสนอและชื่นชมผลงาน และสืบสานเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง 3) กระบวนการติดตามประเมินความก้าวหน้าของเครือข่าย ได้แก่ วางแผนร่วมกัน นิเทศแบบมีส่วนร่วมอย่างกัลยาณมิตร ชี้ทิศทางเป้าหมายการพัฒนา  จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และประเมินการนิเทศ ส่วนผลการวิจัยในมิติพัฒนา พบว่าเครือข่ายของโรงเรียนขนาดเล็กมีสมาชิกเริ่มต้น 5 โรงเรียน กิจกรรมของเครือข่าย ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้  การจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน  ผลสืบเนื่องจากการวิจัยนี้ คือ โรงเรียนได้จัดทำโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับหน่วยการเรียนรู้อื่นๆและมีสมาชิกของเครือข่ายเพิ่มขึ้น
                 ข้อเสนอแนะ 1) การสร้างเครือข่ายอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด อุดมการณืร่วมกัน 2) คุณลักษณะและบทบาทของคณะผู้วิจัยในฐานะผู้กระตุ้นประสานเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ 3) คุณลักษณะและผู้บริหารในฐานะผู้กระตุ้นประสานการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ได้แก่ ความเสียสละ ตั้งใจจริง มีความรู้ ความเข้าใจ เป็นผู้นำด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน  4) บทบาทของศึกษานิเทศก์ คือเข้าใจบริบทของโรงเรียนทั้งจุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนา ใช้รูปแบบนิเทศเชิงปฏิบัติการอย่างกัลยาณมิตร 5) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ควรดำเนินการโดยใช้ระบบเครือข่าย 6ป การสนับสนุนงบประมาณในระยะเริ่มต้น การให้โอกาส และการพัฒนาอย่างมีทิศทาง มุ่งผลสัมฤทธิ์ ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก 7) โรงเรียนขนาดเล็กต้องการพี่เลี้ยงและเพื่อนร่วมทางในการพัฒนางานภายใต้ความขาดแคลนของทรัพยากรและปัจจัยต่างๆ ดังนั้น ระบบเครือข่ายของโรงเรียน จึงเป็นวัฒกรรมการบริหารจัดการสำหรับโรงเรียนขนาดเล้กเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ เป็นจุดเริ่มต้นและปัจจัยเสริมพลังอำนาจแก่ผู้บริหารและคณะครู 8) งบประมาณและข้อจำกัดด้านบุคลากรมิใช่อุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านการเสริมพลังอำนาจแก่โรงเรียน  โดยพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในลักษณะของเครือข่ายที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน

Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU