ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษาสถาบันราชภัฏในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ตอนล่าง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ A Study of Sexual Values of the Rajabhat Institute Students in the Lower Southern Geographical Region.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว วารุณี วงศ์วิเชียร

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2546
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ค่านิยมเรื่องเพศ,ประเพณีนิยม,สมันนิยม
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษาสถาบันราชภัฏในเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ตอนล่างว่ามีทิศทางเชิงบวกหรือเชิงลบ และมีรูปแบบประเพณีนิยม แบบกึ่งกลางหรือแบบสมัยนิยม โดยจำแนกเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านชีววิทยา สุขวิทยา จิตวิทยา และสังคมวิทยา ซึ่งมีองค์ประกอบย่อยรวมทั้งสิ้น 13 เรื่อง ได้แก่ พัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ ความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน การคบเพื่อนต่างเพศ การมีนัด การมีแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของหญิงชาย และการมีเพศสัมพันธ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังของนักศึกษาด้านเพศ ศาสนา สถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา ชีวิตสมรสของบิดามารดา อาชีพหลักของบิดามารดา สภาพชีวิตครอบครัว และสภาพการอาศัยอยู่กับทิศทาง และรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศของนักศึกษา
          กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาภาคปกติระดับปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ของสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช สถาบันราชภัฏสงขลา สถาบันราชภัฏยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2545 จำนวน 474 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิประเภทสัดส่วน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,698 คน
          เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองนั้น เป็นแบบวัดค่านิยมเรื่องเพศ 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบวัดทิศทางค่านิยมว่าเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบวัดรูปแบบค่านิยมว่าเป็นแบบประเพณีนิยมแบบกึ่งกลาง หรือสมัยนิยม แบบวัดทั้ง 2 ส่วน มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .73 และ .62 ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะ์ข้อมูลผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่า X2 - test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Cramer'V
          ผลการวิจัยมีดังนี้
          1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือร้อยละ 82.9 มีค่านิยมเรื่องเพศเชิงบวกในด้านชีววิทยา สุขวิยา และสังคมวิทยา แต่มีค่านิยมเชิงลบในด้านจิตวิทยา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อย พบว่าส่วนใหญ่มีค่านิยมเชิงบวกในเรื่องพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีนัด การแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของหญิงชาย และการมีเพศสัมพันธ์ แต่มีค่านิยทเชิงลบในเรื่องความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพศเดียวกันน และการคบเพื่อนต่างเพศ
          2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 55.7 มีค่านิยมเรื่องเพศแบบนอยมสมัย ที่เหลืออีกร้อยละ 44.3 มีค่านิยมแบบกึ่งกลาง และไม่มีผู้ใดมีค่านิยมแบบประเพณีนิยม เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าส่วนใหญ่มีค่านิยมแบบสมัยนิยมในด้านชีววิทยา สุขวิทยา และจิตวิทยา แต่มีค่านิยมแบบกึ่งกลางในด้านสังคมวิทยา เมื่อพิจารณาองค์ประกอบส่วนย่อยพบว่าส่วนใหญ่มีค่านิยมแบบสมัยนิยม ในเรื่องพัฒนาการของระบบสืบพันธ์ สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศ การเสริมสร้างความเจริญสมบูรณ์ทางเพศ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ การมีอารมณ์ทางเพศ การระบายอารมณ์ทางเพศ และการคบเพื่อนต่างเพศ แต่มีค่านิยมแบบกึ่งกลางในเรื่องความเจริญเติบโตทางสรีระร่างกาย ความสนใจในเพศตรงข้ามและเพสเดียวกัน การมีนัด การมีแฟนหรือคนรัก บทบาทและการวางตัวของชายหญิง และการมีเพศสัมพันธ์
          3. จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังด้านต่างๆ กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศ พบว่าภูมิหลังด้านเพศ สาสนา สภาพการอาศัยอยู่มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .05, .05 และ .001 ตามลำดับ ส่วนภูมิหลังด้านสถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา ชีวิตสมรสของบิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา อาชีพหลักของบิดามารดา และสภาพชีวิตครอบครัว มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
          เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าภูมิหลังด้านเพศสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านชีววิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ภูมิหลังด้านเพศและศาสนามีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องด้านสุขวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ ภูมิหลัง ด้านศาสนา และสภาพชีวิตครอบครัว มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และภูมิหลังด้านเพศ และศาสนา มีความสัมพันธ์กับทิศทางค่านิยมเรื่องเพศด้านสังคมวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ
          4. จากการทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิหลังด้านต่างๆ กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศ พบว่าภูมิหลังด้านศาสนา สถาบันที่ศึกษา สาขาวิชาที่ศึกษา อาชีพหลักของมารดา สภาพชีวิตของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .001, .05, .05, และ .01 ตามลำดับ ส่วนภูมิหลังด้านเพศ ชีวิตสมรสของบิดามารดา การศึกษาของบิดามารดา อาชีพหลักของบิดา และสภาพการอาศัยอยู่ มีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
          เมื่อพิจารณาองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่าลักษณะภูมิหลังทุกด้านมีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านชีววิทยาอย่างไม่มีนัยสำคัยทางสถิติที่ระดับ .05 ภูมิหลังด้านศาสนามีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านสุขวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภูมิหลังด้านสถาบันที่ศึกษาและสภาพชีวิตครอบครัว มีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านจิตวิทยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - เท่ากัน และ ภูมิหลังด้านเพศ ศาสนา และสภาพการอาศัยอยู่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบค่านิยมเรื่องเพศด้านสังคมวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .05 และ .01 ตามลำดับ
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU