ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การสร้างแบบจิตรกรรมชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยกระบวนการภาพพิมพ์
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The design of Local Products Utilizing Applied Local Thai Traditional Painting Heritage Trough The Process of Silk Screen Technique .

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย จรูญ ศรียะพันธุ์
ผู้ร่วมวิจัยผศ. อ้อยทิพย์ พลศรี
ผู้ร่วมวิจัยผศ. อริยา กัณฑลักษณ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ จิตรกรรม , ภาพพิมพ์
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบจิตรกรรมในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างรูปแบบภาพพิมพ์จิตรกรรมบนกระดาษใยตาลสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อที่จะเผยแพร่เอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมของท้องถิ่นผ่านกระดาษใยตาล  ซึ่งมีเป้าหมาย คือ กลุ่มหัตถกรรมใยตาลบ้านบ่อใหม่และกลุ่มเครือข่ายตำบลจะทิ้งพระ  อำเภอสทิงพระ  จังหวัดสงขลา
             ผลการวิจัยพบว่า
                      1.  การคัดสรรรูปแบบจิตรกรรมด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม คณะผู้วิจัย ผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มหัตกรรมใยตาล ให้ความสำคัญกับภาพที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นหลัก  ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังจากวัดมัชฌิมาวาส  วัดคูเต่า  วัดพะโคะ  และวัดจะทิ้งพระ
                     2.  การปรับปรุงเทคนิคภาพตะแกรงไหม  พบว่า การสร้างรูปแบบภาพพิมพ์จิตรกรรมบนกระดาษใยตาลด้วยกระบวนการภาพพิมพ์ตะแกรงไหมสอดคล้องกับกระบวนการผลิตของชุมชน ควรใช้เทคนิควิธีการอย่างง่าย  โดยการสร้างต้นแบบเฉพาะลายเส้นรอบนอกของภาพและใช้วิธีการพิมพ์ภาพสีเดียว  เนื่องจากกลุ่มยังขาดความรู้พื้นฐานด้านการทำภาพพิมพ์  นอกจากนี้จากการสังเกตและสอบถามสมาชิกส่วนใหญ่พึงพอใจกับการทำเทคนิคภาพพิมพ์ตะแกรงไหม  เนื่องจากสามารถผลิตผลงานได้อย่างรวดเร็ว สะดอก ประณีต และปริมาณมากในเวลาอันจำกัด
                    3.  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างรูปแบบภาพพิมพ์จิตรกรรมบนกระดาาใยตาลสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ผลการทดลองเชิงปฏิบัติการ  พบว่า  สมาชิกส่วนใหญ่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยกระดาษใยตาลได้ตามขั้นตอนที่วิทยากรแนะนำและจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ไว้ให้  แต่หากต้องดำเนินการเองทุกขั้นอนจำเป็นจะต้องมีกระบวนการจัดการที่ดี  ตามปรัชญาพื้นฐานในการมีส่วนร่วมก็จะทำให้กลุ่มสามารถสร้างและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้วยกระดาษใยตาลในโอกาสต่อไป
                   4.  การเผยแพร่เอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมของท้องถิ่นผ่านผลิตภัณฑ์กระดาาใยตาล สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมใยตาลแสดงความคิดเห็น  และเสนอแนวคิดในประเด็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมของท้องถิ่นผ่านผลิตภัณฑ์กระดาษใยตาลว่าควรมีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและได้มาตรฐาน  จะส่งผลด้านการตลาด  การเผยแพร่เอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมของท้องถิ่น  ควรมีการติดตามและพัฒนาโครงการวิจัยการสร้างแบบจิตรกรรมในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการพิมพ์นี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการบริหารจัดการ  การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนารูปแบบ  และการเผยแพร่เอกลักษณ์ภาพจิตรกรรมของท้องถิ่นผ่านผลิตภัณฑ์กระดาษใยตาลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 

Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU