ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยง การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาสาหร่ายสไปรูไลนาสด เพื่อเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ A Study on Cultivating, Harvesting and Preserving Techniques for Increasing of Spirulina sp. Production and Food Safety.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. มานี เตื้อสกุล

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ เทคนิคการเพาะเลี้ยง,อาหารปลอดภัย,การปนเปื้อนของโลหะหนัก
บทคัดย่อ           จากการศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา สาหร่ายสไปรูไลนาสด เพื่อเพิ่มผลผลิตและอาหารปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการเก็บรักษาสาหร่ายสไปรูไลนาสดใน 5 จังหวัด ปรับปรุงเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการเก็บเกี่ยวให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงผู้บริโภค และเพื่อผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมขนาดย่อม
          วิธีการทดลอง สำรวจโดยการสัมภาษณ์แหล่งเพาะเลี้ยง นำสาหร่ายจากแหล่งเพาะเลี้ยงมาวิเคราะห์ คุณสมบัติทางเคมี และทางจุลชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ นำมาออกแบบสร้างเครื่องมือ และทดลองเครื่องมือ โดยการเพาะเลี้ยงเก็บผลผลิต และสรุปผล
          ผลการทดลอง พบว่าการเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ทำในโรงเรือน ใช้ถังพลาสติกในการเพาะเลี้ยงและใช้เครื่องเป่าอากาศ ช่วยการหมุนเวียนน้ำ อาหารที่เพาะเลี้ยงเป็นอาหารสูตร 9 ตัว ของธิดา (ธิดา,2546) ประกอบด้วย NaHCO3, K2HPO4 or Na2HPO4, K2SO4, NaCl, MgSO4,CaCl2, FeSO4 and EDTA มีค่าความเป็นกรดด่าง 8-11 เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 7-14 วัน ผลผลิตสูงสุดของการเพาะเลี้ยงจากแหล่งสำรวจคือ 3.3 กิโลกรัม/1,000 ลิตร การเก็บเกี่ยวสาหร่ายใช้วิธีการลักน้ำ การล้างใช้วิธีให้น้ำไหลผ่านโดยใช้น้ำจำนวนมาก เก็บสาหร่ายสดในน้ำแข็งหรือตู้เย็น พันธุ์สาหร่ายส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เส้นตรงปริมาณความชื้นร้อยละ 80.78-94.48 โปรตีนร้อยละ 37.33-67.52 ในการวิเคราะห์ทางเคมีไม่พบโลหะหนัก แคดเมียมทุกตัวอย่าง ไม่พบตะกั่วเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างของแหล่งสำรวจ แต่ปริมาณที่พบน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ด้านคุณภาพทางจุลชีววิทยา พบว่าสาหร่ายสดจากแหล่งผลิตทั้งหมด มีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการบริโภคสด เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยทางจุลชีววิทยา ผลผลิตสาหร่ายสดเก็บเกี่ยวจากบ่อทดลองของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ผลผลิต 4 กิโลกรัม/1,000 ลิตร ซึ่งสูงกว่าทุกแหล่งสำรวจ และการวิเคราะห์ทางเคมีไม่พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก คือแคดเมียมและตะกั่วในตัวอย่าง
          ได้ออกแบบโรงเรือนบ่อเพาะเลี้ยง ชุดเก็บสาหร่าย และเครื่องล้างสาหร่าย พบว่าสามารถเพาะเลี้ยงได้ผลผลิตสูง รวดเร็ว และอาหารปลอดภัย
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU