ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นระดับอุดมศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา กรณีศึกษาพื่นที่ชุมชนเก้าเส้ง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนาย เฉลิมชนม์ วรรณทอง
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. บรรจง ทองสร้าง
ผู้ร่วมวิจัยผศ. ศักดิ์ชาย คงนคร
ผู้ร่วมวิจัยนาย พะเยาว์ ยงศิริวิทย์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2547
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 0 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ชุดการเรียนวิทยาศาสตร์ , ชุมชนเก้าเส้ง,การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
บทคัดย่อ             การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นระดับอุดมศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา  กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง  โดยบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาวิชาฟิสิกส์  ดาราศาสตร์  ธรณีวิทยา  และอุตุนิยมวิทยา  และเพื่อพัฒนานักวิจัยและฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสรรสร้างชุมชน  ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม  มหาวิทยาลัยกับชุมชน  ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูล
            จากผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  อันเนื่องมาจากการลดลงของมวลทราย บริเวณหาดชลาทัศน์ ตั้งแต่บริเวณชุมชนเก้าเส้ง  ถึงแหลมสมิหลา  ตำแหน่งรูปปั้นนางเหงือก มีแนวโน้มลดลง  จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาสพิกัดจังหวัดสงขลา  ปี พ.ศ.2509  พ.ศ.2517 พ.ศ.2532 พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2545  โดยโปรแกรม Arcview พบว่าหาดชลาทัศน์สูญเสียพื้นที่ไปแล้ว 62,678.16 ตารางเมตร หรือ 39.17 ไร่ และข้อมูลจากชุมชนพบว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเริ่มต้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน  และผลการเก็บข้อมูลพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงดาวเทียม  โดยเครื่องวัดพิกัดภูมิศาสตร์ (GPS)  บริเวณหาดชลาทัศน์ เดือนธันวาคม พ.ศ.2546- มกราคม พ.ศ.2547 เทียบกับแผนที่ L7017 ระวาง5123III กรมแผนที่ทหาร  การเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
            สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศนืจังหวัดสงขลา
            1. อิทธิพลจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะเดียวกันนี้ ตลอดแนวของชายฝั่งอ่าวไทย  ยกตัวอย่างเช่น หาดปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช  หาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี  หาดแสงจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นต้น
             2. อิทธิพลจากมนุษย์  เนื่องมาจากขาดความรู้ในการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล
                  เนื่องจากโครงการวิจัยชุดนี้เป็นลักษณะของงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์จากโครงการวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นคือ
                  1.  ได้ชุดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น  ระดับอุดมศึกษา  เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา  กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาฟิสิกส์  ดาราศาสตร์  ธรณีวิทยา  สมุทรศาสตร์  และอุตุนิยมวิทยา ไว้ด้วยกัน
                  2.  ได้คู่มือความรู้ชุมชน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบริเวณหาดชลาทัศน์จังหวัดสงขลา  กรณีศึกษาพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นบทเรียนเบื้องต้น  ที่ให้ชาวบ้านในชุมชน และนักท่องเที่ยว รู้จักแง่มุมอีกด้านหนึ่งของชุมชนเก้าเส้ง
                  3.  ได้เครือข่ายชุมชน  ด้านการสังเกตและเฝ้าระวังพื้นที่บริเวณหาดชลาทัศน์ ซึ่งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่มีความรุนแรงต่อเนื่อง
                  4.  ได้เครือข่ายความร่วมมือด้านฐานข้อมูล  กับหน่วยงานของรัฐ คือ
                        4.1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                        4.2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม
                        4.3  ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ตะวันออก จังหวัดสงขลา
                        4.4  เทศบาลนครสงขลา
                        4.5  กรมแผนที่ทหาร
                   5.  พัฒนานักวิจัย  ด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันสรรสร้างชุมชน  ครูอาจารย์ นักศึกษาและชาวบ้านในชุมชนได้รับทราบถึงข้อมูลความจริงที่เป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบบมีกระบวนการ ไม่เกิดจากความเชื่อเพียงอย่างเดียว
                  6. ได้เครือข่ายเผยแพร่ผลงานการศึกษาวิจัย  ผ่านสื่อมวลชน  ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นจุดอ่อนข้อหนึ่งของนักวิจัย นั่นคือ ขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน
                  7.  ได้เครือข่ายวิจัยวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ  ซึ่งเป็นความเข้มแข็งทางวิชาการของชาวราชภัฏ สมดังปณิธาณ "สถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU