การศึกษาแนวทางการศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาวัดป่าลิไลยก์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีเป้าหมายของการวิจัยคือ ชุมชนตำบลลำปำ จังหวัดพัทลุง มีความตระหนักในศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างวัดป่าลิไลยก์และชุมชนตำบลลำปำ วิธีการดำเนินการวิจัย เริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการสำรวจเบื้องต้น การจัดประชุมผู้นำการพัฒนาและผู้มีส่วนร่วมได้เสียกับโครงการวิจัย การจัดเวทีชาวบ้าน การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มาปฏิบัติธรรมและชาวชุมชนตำบลลำปำ การจัดประชุมกลุ่มผู้นำ กลุ่มอาชีพในชุมชนตำบลลำปำ และการประชุมทีมวิจัยเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยว ผลการวิจัย การวิจัยทำให้พบว่า วัดมีความเป็นศูนย์กลางของชุมชน การมีจิตสำนึกสาธารณะ การมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา การรักถิ่นฐานบ้านเกิดของคนในชุมชน ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวทราบว่าวัดมีธรรมชาติที่งดงาม อยากเรียนรู้ธรรมะ สิ่งที่ต้องการให้วัดปรับปรุง เรื่อง ความสะอาดของห้องน้ำและจัดที่จอดรถให้เพียงพอ ความคิดเห็นของชุมชน พบว่า ชุมชนมีโอกาสในการเปิดขายสินค้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พื้นบ้านหรือหัตถกรรมพื้นบ้านให้นักท่องเที่ยว ชุมชนมีโอกาสจัดให้บ้านเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวชั่วคราว ข้อเสนอแนะในการเชื่อมโยงผลวิจัย จะได้ข้อมูลสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ ได้แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในมิติใหม่ และเกิดการจัดกิจกรรมประเพณีร่วมกันระหว่าวัดป่าลิไลยก์ อบต. ลำปำ เทศบาลเมืองพัทลุง และจังหวัดพัทลุง