หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การใช้สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมมะพานต์และผักชีลาวในการฆ่าลูกน้ำยุงลายและการศึกษาผลกระทบต่อวงจรของยุงลาย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Evaluations of larvicidal activity of Cashew Nut Tree and Dill extracts on Aedes aegypti and effect on life cycle
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. สุวรรณี พรหมศิริ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปีงบประมาณ
2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
มะม่วงหิมพานต์, ไข้เลือดออก, ลูกน้ำยุงลาย, สารสกัด
บทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก พาหะหลักของโรค คือ ยุงลาย (Aedes aegypti) ซึ่งกำลังระบาดถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก การกำจัดโดยใช้สารเคมีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดการดื้อยาในยุง ดังนั้น การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรจึงเป็นวิธีที่ดีในการทดแทนการใช้สารเคมี จึงได้ทำการทดสอบฤทธิ์ของารสกัดจากพืชสมุมไพร 2 ชนิด คือสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และผักชีลาว พบว่า สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าลูกน้ำยุงลายระยะที่ 3 และ 4 ที่ 24 ชม. มีค่า LC50 และ LC90 เท่ากับ 0.94 mg/L } 1.66 mg/L ตามลำดับ และที่ 48 ชม. เท่ากับ 0.69 mg/L } 1.14 mg/L ตามลำดับ รองลงมาคือสารสกัดจากผักชีลาวที่ 24 ชม. มีค่า LC50 และ LC90 เท่ากับ 3.83 mg/L , 6.45 mg/L ตามลำดับ และที่ 24 ชม. เท่ากับ 3.74 mg/L } 6.32 mg/L ตามลำดับ
ผลกระทบต่อวงจรชีวิตของยุงลาย พบว่า ฤทธิ์ขอวสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทำให้ประชากรของยุงตายเพิ่มขึ้นมากกว่าสารสกัดจากผักชีลาว ค่าเฉลี่ยของจำนวนไข่ต่อตัวเมีย 1 ตัว ของสารสกัดจากผักชีลาวมีจำนวนมากกว่าสารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์และอัตราการฟักของจำนวนลูกน้ำต่อตัวเมีย 1 ตัว สารสกัดจากเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีอัตราการฟักมากกว่าสารสกัดจากผักชีลาวเท่ากับ 48% และ 41% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม จำนวนไข่และจำนวนลูกน้ำต่อตัวเมีย 1 ตัว มีจำนวนน้อยกว่า 50%
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU