หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การพัฒนาการปลูก การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา[Musa(ABB Group)] เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Growing, Processin and Marketing Development of Kluai Nang Paya [Musa (ABB Group)] as the Community Products
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ดร. รัชฎา เศรษฐวงศ์สิน
ผู้ร่วมวิจัย
รศ. นฤมล อัศวเกศมณี
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. เสาวนิตย์ ชอบบุญ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2551
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
500,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
กล้วยนางพญา,การส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูป,แปรรูปกล้วยน้ำว้าแลกล้วยไข่
บทคัดย่อ
กล้วยนางพญาเป็นกล้วยประจำถิ่นของจังหวัดสงขลา เป็นที่รู้จักกันดีในสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงใช้รับประทานผลสุกหรือแปรรูปเป็นกล้วยทอด กล้วยเชื่อม หรือข้าวต้มมัด ยังไม่มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่ขนส่งง่ายและเก็บได้นาน ซึ่งต่างกับจังหวัดพัทลุงที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการและองค์กรท้องถิ่น ส่งเสริมการแปรรูปกล้วยน้ำว้าและกล้วยไข่ที่ปลูกมากท้องถิ่นเป็นการค้า กล้วยนางพญาที่ใช้แปรรูปส่วนใหญ่ได้จากสวนหลังบ้าน มีการปลูกเป็นการค้าน้อยเนื่องจากหน่อพันธุ์หายาก เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนต้นอ่อนกล้วยนางพญาให้ได้ปริมาณเพียงพอ การเพาะเลี้ยงตายอดและตาข้างของกล้วยด้วยอาหารสูตร MS ที่เสริม BA ในอัตรา 2 มิลลิลิตร/ลิตรสามารถกระตุ้นให้เกิดตายอดได้ 1-5 ยอด เมื่อนำต้นอ่อนที่ได้มาเลี้ยงในอาหาร 1/2 MS สามารถกระตุ้นให้เกิดรากและนำออกปลูกได้
กล้วยนางพญาที่ปลูกในอำเภอนาทวี มีขนาดลำต้นและการเจริญเติบโตแตกต่างกันมากขึ้นกับพื้นที่ปลูกและการดูแล อาจมีขนาดเส้นรอบวงตั้งแต่ 57.5-100 ซม. ความสูงต้น 273 ซม. - 555 ซม. ผลผลิต 6-8 หวีต่อเครือ จำนวน 11-18 ผลต่อหวี ตั้งแต่ติดผลจนกระทั่งผลแก่ใช้เวลาประมาณ 14 สัปดาห์ กล้วยอายุ 12-14 สัปดาห์สามารถนำมาบ่มให้สุกด้วยเอทธิฟอน ซึ่งเป็นสารให้กำเนิดก๊าซเอทธิลีน กล้วยสุกภายใน 2-3 วัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงสีและรสชาติใกล้เคียงกัน กล้วยนางพญามีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม และกล้วยหักมุก แต่กล้วยนางพญาจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตโปรตีนและใยอาหารมากกว่า ขณะที่มีไขมันน้อยกว่า
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัญฑ์แปรรูปจากกล้วยนางพญาเ็นที่รู้จักกันมากขึ้น ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยหยี กล้วยตาก เค้ก และโยเกิร์ตกล้วยนางพญา และถ่ายทอดให้กับกลุ่มแม่บ้าน 2 กลุ่มคือ กลุ่มบ้านทุ่งเลียบพัฒนา หมู่ 9 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง และกลุ่มแม่บ้าน บ้านบางเขียด หมู่ 3 ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา สำหรับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วยนางพญา โดยให้คะแนนความชอบในเค้กกล้วยมากที่สุด รองลงมาคือ กล้วยหยี กล้วยตาก และโยเกิร์ต ตามลำดับ ซึ่งผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 80 ยินดีซื้อผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญา
เปลือกกล้วยนางพญาซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง สามารถนำมาป่น และผสมในอาหารนกกระทาระยะไข่ได้ในระดับ 12 เปอร์เซ็นต์ พบว่ามวลไข่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัยยิ่งทางสถิติ (P<0.01) รวมทั้ง ต้นทุนค่าอาหารต่ำกว่าที่ระดับ 0 และ 3 เปร์เซ็นต์ในสูตรอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05X และไม่ส่งผลเสียต่อองค์ประกอบของไข่ คุณภาพไข่และสุขภาพนกกระทา นอกจากนี้เปลือกกล้วยนางพญา สามารถนำมาหมัก โดยใช้อัตราส่วนเปลือกกล้วยต่อกากน้ำตาลต่อน้ำจุลินทรีย์ EM เป็น 3:1:1:1 หมักเป็นระยะเวลา 1 เดือน ได้น้ำหมักชีวภาพซึ่งอยู่ในสภาพเป็นกรด (pH 4.3) แต่เมื่อนำมาเจือจางอัตราส่วน 1:50 , 1:100 และ 1:500 พร้อมทั้งปรับ pH ให้อยู่ในช่วง 7.5-8.5 ด้วยปูนขาว สามารถใช้เพาะขยายพันธุ์ไรแดงได้ดี ไม่แตกต่างจากสูตรอาหารควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าการเลี้ยงปลาดุกรัสเซียในบ่อดินที่ใส่น้ำหมักชีวภาพในอัตราน้ำหนัก : น้ำ = 1 ลิตร : 10 ลูกบาศก์เมตร ปลาดุกที่เลี้ยงมีน้ำหนักมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปริมาณแอมโมเนียเฉลี่ยในน้ำอยู่ในระดับที่ไม่เป็นพิษต่อปลา ส่วนปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำและความโปร่งใสของบ่อที่ใส่น้ำหมักชีวภาพมีค่าต่ำกว่า แต่ไม่มีผลต่อความอยู่รอดของปลา
บริบทของกลุ่มและสภาพกิจกรรมด้านการผลิต การตลาดและการออมทรัพย์ของกลุ่มธุรกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านตัวแทน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มขนมพื้นบ้านกลุ่มแม่บ้าน บ้านบางเขียด หมู่ที่ 3 ตำบลบางเขียด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ก่อตั้งในปี พ.ศ.2550 โดยเริ่มจากการตั้งกลุ่มออมทรัพย์หมู่ที่ 3 รวมกันเป็นกลุ่มขึ้นเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่ายเพิ่มรายได้โดยเน้นการผลิตน้ำพริกแมงดาเป็นหลัก กลุ่มไม่มีการจัดโครงสร้างอย่างเป็นทางการ ไม่มีการทำบัญชีกลุ่ม จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุน การกำหนดราคา การทำบัญชี การจัดทำงบกำไรขาดทุน ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาด ส่วนทางการตลาดทีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มพยายามที่พัฒนาสินค้าให้ได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์(อ ย.) กลุ่มที่ 2 กลุ่มแม่บ้านทุ่งเลียบพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ก่อตั้งในปี พ.ศ.2531 มีการจัดโครงสร้างองค์กร มีคณะกรรมการ กำหนดวัตถุประสงค์ กฎระเบียบตามโครงสร้างของทางราชการ ในปี พ.ศ.2543 ได้ผลิตกล้วยกรอบแก้ว (เบรคแตก) ออกจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมของสมาชิกจนถึงปัจจุบัน กลุ่มมีการทำบัญชีอย่างง่าย โดยประธานเป็นผู้จัดทำ จากการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มพบว่าไม่ค่อยมีกำไรไม่มีสมาชิกทำหน้าที่ด้านการตลาดส่วนใหญ่เต็มใจเป็นฝ่ายผลิต มากกว่า ปริมาณการผลิตสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่ได้วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต คณะผู้วิจัยจึงได้ถ่ายทอดความรู้โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การหาจดคุ้มทุน การทำบัญชี การตลาด และส่วนประสมทางการตลาด เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางการตลาดมากขึ้น
สำหรับผลิตภัณฑ์จากกล้วยนางพญาหลังจากการถ่ายทอดการผลิต ผลิตภัณฑ์ของกิจกรรมที่ 4 พบว่า กลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดพัทลุง สนใจ โยเกิร์ตจากกล้วยนางพญา เนื่องจากมีเครือข่ายนมสดจังหวัดพัทลุงส่วนกลุ่มแม่บ้านจังหวัดสงขลาเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์เช่นตู้อบจึงอบรมการทำข้าวเหนียวคอนโด และกล้วยหยี จาการติดตามกลุ่มแม่บ้านที่จังหวัดสงขลา พบว่าได้ผลิตข้าวเหนียวคอนโด จำหน่ายตลาดนัดใกล้บ้าน และรับผลิตเมื่อมีการอบรม ประชุมหน่วยงานราชการในท้องถิ่นจากข้อมูลการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานภาพและองค์ประกอบของทั้ง 2 กลุ่มนำมาจัดทำเป็นกรณีศึกษาให้นักศีกษาในรายวิชา การประกอบการธุรกิจชุมชน โดยนำขึ้น http://vclass.skru.ac.th ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจสภาพธุรกิจชุมชนในท้องถิ่นและมีส่วนร่วมโดยการวิเคราะห์เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจชุมชน
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU