ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในจังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Reproductive is Potential Devenlopment to Promote AIDS Protection in Tambon Level in Songkhla Province by Using Community Participation Medel of Health Promotion

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. เทพกร พิทยาภินันท์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปีงบประมาณ 2550
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ พัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์,การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์,การส่งเสริมสุขภาพ
บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ในการป้องกันเอดส์ในระดับตำบลในจังหวัดสงขลา กาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 15 - 45 ปี ในตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จำนวน 278 คน สุ่มตัวอย่างด้ยโดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอภิปรายกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์(Forcus group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 4.61 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.57 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          การเปรียบเทียบเตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศและเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 2.97 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.15 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          การเปรียบเทียบพฤติกรรมและทักษะในการป้องกันการติกเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 2.86 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.03 เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและทักษะในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          การดำเนินงานโดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพพบว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนโดยชุมชนคิดเอง ทำเอง บริหารจัดการเองโดยอาศัยองค์ความรู้และศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชนจึงทำให้กลุ่ม และกิจกรรมนั้นเกิดความยั่งยืนและสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
          การนำรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ มาดำเนินงานพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในระดับตำบล ประสบความสำเร็จ เห็นได้จากเครือข่ายหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์เพิ่มขึ้น
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU