หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
โครงการจัดทำชุดข้อมูลความรู้เชิงประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่อง วัฒนธรรมร่วมรากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Shared Culture and Multi Cultural of Southern border provinces
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นาย วสิน ทับวงษ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2562
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
100,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.ท่าสาป อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
นางสาวณัฐมน ราชเสน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
สถานะของผู้ประสานงาน
นักวิชาการอุดมศึกษา
ประเภทงานวิจัย
กลุ่ม
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ประวัติศาสตร์ พหุวัฒนธรรม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วายังกุเละ ท่าสาป
บทคัดย่อ
ระบุบทคัดย่
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดทำชุดความรู้
จากการดำเนินโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมในระดับมัธยมศึกษามาจำนวน 12 รุ่น โดยมีเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ 3 จังหวัด และ 4 อำเภอชายแดนภาคใต้ ผลการดำเนินโครงการพบว่า หลังเสร็จสิ้นกระบวนการค่ายซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมิติการจัดความสัมพันธ์ระหว่างชนต่างศาสนิกภายใต้ความหลากหลาย ประวัติศาสตร์ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีมายาวนานในพื้นที่ เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแรก คือกลุ่มเยาวชนที่รับตรรกะหรือองค์ความรู้ใหม่จากค่าย ปฏิเสธองค์ความรู้ชุดเดิม และพร้อมได้รับการพัฒนาเป็นผู้นำเยาวชนส่งเสริมพหุวัฒนธรรม กลุ่มที่สอง คือกลุ่มเยาวชนที่รับตรรกะหรือองค์ความรู้ใหม่จากโครงการ แต่ยังคงไม่ปฏิเสธองค์ความรู้ชุดเดิม และต้องการแสวงหาข้อยืนยันในองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มเยาวชนที่ปฏิเสธองค์ความรู้ชุดใหม่ ยังคงเชื่อในองค์ความรู้ชุดเดิม จากผลการดำเนินโครงการดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจัดทำชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์เชิงพหุวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและยืนยันให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนต่างศาสนิกภายใต้ความหลากหลาย และประวัติศาสตร์เชิงพหุวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยมากยังไม่มีการจดบันทึกมีเพียงการบอกเล่าต่อๆกันมาโดยอาศัยการจดจำ ทำให้เรื่องราวต่างๆเกิดความเสี่ยงต่อการสูญหาย การผิดเพี้ยนและบิดเบือนของข้อมูล การศึกษาและจัดทำชุดความรู้นี้จึงเป็นการค้นคว้า รวบรวม และบันทึกข้อมูลของวัฒนธรรมร่วมรากเดียวกันจนกระทั่งถึงวัฒนธรรมร่วมสมัยระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาและจัดทำชุดความรู้นี้มีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ มุ่งให้เกิดเป็นกระบวนการของการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์เชิงพหุวัฒนธรรมที่นำไปสู่การพัฒนาและความสันติสุขอย่างยั่งยืนในพื้นที่ โดยการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับชุมชน และการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน รวมถึงการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมของตนในท้องถิ่นอื่น ศึกษาในประเด็นวัฒนธรรมร่วมราก เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาอันยาวนานของการอยู่ร่วมของคนพุทธและมุสลิมในพื้นที่ สายสัมพันธ์ความเป็นเครือญาติ วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ได้ร่วมชุมชนกันมากตั้งแต่เกิดจนถึงตาย รวมถึงประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้ร่วมรากกันมา รวมทั้งศึกษาในประเด็นวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งความหมายของคำว่าวัฒนธรรมร่วมสมัย หมายถึง พฤติกรรมที่เป็นวิถีชีวิตของคนปัจจุบัน เป็นแบบแผนการประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ในสถานภาพต่างๆที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถเข้าใจและซาบซึ้งร่วมกัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มชนที่สร้างสมสืบต่อกันมาจากอดีต ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความหมายที่ให้ มีเงื่อนไขของเวลา และ สภาพแวดล้อมของสังคม ณ ตอนนั้น เป็นตัวกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมที่ร่วมสมัย โดยได้รับอิทธิพลจากความคิด แนวคิด และค่านิยมของคนในสังคมในช่วงเวลานั้น (สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ : 2540)ประเด็นวัฒนธรรมร่วมสมัยในการจัดทำชุดความรู้นี้ จึงศึกษาในเรื่องของการก่อรูปก่อร่างวัฒนธรรมใหม่ในพื้นที่อันเป็นการดำรงอัตลักษณ์ของตนไว้ และยังสามารถผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งในสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ยังศึกษาในประเด็นการดำรงอยู่ของสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ผ่านการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน การกิจกรรมต่างๆร่วมกันในชุมชนอ
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU