ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิบ้านพระพุทธ อำเภอเทพา และกลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิบ้านปากบางสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Preparation Action Research for the the Development of Community Enterprise Network : A Case Study of Shrimp Paste Production Groups of Baan Phra Phut, Moo 2,Tambon Thepha, Amphoe Thepha and of Baan Pak Bang Sakom,Moo 4, T

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. สนธยา พลศรี

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเศรษฐศาสตร์
ปีงบประมาณ 2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน , การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษารูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในอาหารแปรรูปภาคใต้เพื่อตนเองอย่างยั่งยืน  มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาสถานภาพและศักยภาพของกลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิบ้านพระพุทธและบ้านปากบางสะกอม  เพื่อสร้างและทดลองดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนระหว่างทั้งสองกลุ่ม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้นำและสมาชิกของกลุ่มบ้านพระพุทธ จำนวน 35 คน กลุ่มบ้านปากบางสะกอม จำนวน 15 คน ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน และผู้บริโภคกะปิ จำนวน 50 คน แต่กลุ่มบ้านปากบางสะกอม ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่จะส่งเข้าร่วมทดลองการวิจัยได้ตลอดโครงการ  จึงไม่ได้ร่วมโครงการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในอาหารแปรรูปภาคใต้เพื่อพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนตลอดโครงการ  โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การประชุมกลุ่ม  การสัมภาษณ์  การจัดเวทีประชาคม  การศึกษาดูงานและการทดลองและการทดลองปฏิบัติจริง
         ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในอาหารแปรรูปภาคใต้เพื่อพึ่งตนเองอย่างยั่นยืนที่ทดลองมีความเหมาะสมควรดำเนินการต่อไป  กลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิบ้านพระพุทธมีจุดแข็งในเรื่องชุมชนเป็นเจ้าของกิจการ  ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน  มีการริเริ่มสร้างสรรค์ในนวัตกรรมของชุมชน  พึ่งตนเองได้  แต่มีจุดอ่อนในเรื่องทรัพยากรในการผลิตไม่เพียงพอ ขาดกระบวนการเรียนรู้ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเครือข่ายและไม่มีการดำเนินงานแบบเครือข่ายกับกลุ่มอื่นๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิบ้านปากบางสะกอมมีจุดแข็งคือชุมชนเป็นเจ้าของกิจการ  ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชนพึ่งตนเองได้ แต่มีจุดอ่อนด้านทรัพยากรในการผลิตไม่เพียงพอ  ขาดการดำเนินการแบบบูรณาการ  ขาดกระบวนการเรียนรู้  ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเครือข่ายและไม่มีการดำเนินงานแบบเครือข่ายกับกลุ่มอื่นๆ รูปแบบของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภาคใต้ที่ประสบความสำเร็จและควรดำเนินการต่อไป ได้แก่ เครือข่ายการผลิต  เครือข่ายการตลาด เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายข้อมูล และกลุ่มผลิตภัณฑ์กะปิ ทั้งสองตกลงเป็นเครือข่ายการผลิตและเครือข่ายการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ  โดยให้ผู้นำของทั้งสองกลุ่มเป็นแกนกลางในการประสานงาน

Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU