ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากรากพาหมี
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Biologically active constituents of the root of Linostoma pauciflorum Griff.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ทวีสิน นาวารัตน์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย แหล่งทุนภายนอก - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ 2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี 6 เดือน
งบประมาณ 140,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ืทวีสิน นาวารัตน์
สถานะของผู้ประสานงาน ทวีสิน นาวารัตน์
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ Linostoma pauciflorum Griff., Biologically active
บทคัดย่อ พาหมี (Linostoma pauciflorum Griff.) เป็นไม้พุ่ม มีลักษณะเป็นเถาว์ พบได้ทั่วไปในภาคใต้ของประเทศไทย พืชชนิดนี้มีสรรพคุณมากมาย ตัวอย่างเช่น รากแห้งของพาหมีที่ผสมกับน้ำปัสสาวะแล้วห่อด้วยใบชุมเห็ดเทศใช้สูบแก้ริดสีดวงจมูก ส่วนต่าง ๆ ของพืชชนิดนี้ยังใช้เป็นยาเบื่อปลาโดยการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วโยนลงน้ำ ปลาก็จะลอยขึ้นเหนือน้ำ ในขณะที่สารสกัดหยาบในชั้นน้ำของพืชชนิดนี้ใช้พ่นกำจัดแมลงศัตรูพืช การวิจัยครั้งนี้ได้รายงานการแยกและพิสูจน์เอกลักษณ์ของ ไบฟลาโวนอยด์ ที่ชื่อ ลิโนไบฟลาโวนอยด์ (II)  biflavonoid หรือ linobiflavonoid (1), biscoumarin ether; daphnoretin (2) นอกจากนี้ยังมีสารประกอบฟลาโวนอยด์ที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่  5,4'-dihydroxy-7,3',5'-trimethoxyflavone (3), 5,4'-dihydroxy-7-methoxyflavone(4) ซึ่งแยกได้จากเถาว์พาหมี ฟลาโวน 3 แสดงฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย mycobacterium tuberculosis ที่ค่า MIC 3.13 µM  และ KB-oral cavity cancer ที่ค่า IC50 17.41 µM
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU