หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
ผลของวิธีการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Effects of Different Seed Storage Methods on Seed Quality of Sungyod (Oryza sativa)
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. ภัทรพร ภักดีฉนวน
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2545
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
เมล็ดพันธุ์ , พื้นที่เป้าหมาย , ข้าวปลูก , ภาชนะบรรจุ , การนวดข้าว ,การทำความสะอาด , การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ผลของวิธีการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด มีวัตถุประสงข์เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การสำรวจข้อมูลของเกษตรกร และการทดลอง จากการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่า เกษตรกรนิยมปลูกข้าวสังข์หยดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะปัจจุบันราคาขายของเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ และทางราชการก็ส่งเสริมให้เพิ่มมูลค่าข้าวสังข์หยดโดยการแปรรูปเพิ่มมากขึ้น และจากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มาตรวจวิเคราะห์คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดที่ปลูกจากแปลงนา และเก็บรักษาในสภาพยุ้งฉางของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 ราย ณ อำเภอ บางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปรากฏผลดังนี้ เกษตรกรที่สำรวจทั้งหมดนิยมเก็บรักษาพันธุ์ข้าวสังข์หยดในระยะสั้นเพียง 9-12 เดือน ทำให้เกษตรกรไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่ดีของเมล็ดพันธุ์มากนัก รูปแบบการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดของเกษตรกรโดยส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) คือ การนำเมล็ดที่ได้จากนวดออกรวงแล้วมาบรรจุในกระสอบปุ๋ย มีเกษตรกรเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่เก็บรักษาพันธุ์ข้าวเป็นเลียงไว้ในยุ้งฉาง จากผลการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ความงอกและเปอร์เซ็นต์ความชื้นของเกษตรกร ปรากฏว่า ภายหลังการเก็บรักษานาน 6 เดือน เมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรจำนวน 9 ราย มีความงอกต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นระดับเปอร์เซ็นต์ความงอกที่ต่ำกว่ามาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าวที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดไว้ และในสภาพการเก็บรักษาก็มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นๆ และสิ่งเจือปนปะปนเกินมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรดังกล่าวเก็บพันธุ์ข้าวทุกพันธุ์ เก็บข้าวเก่าและข้าวใหม่รวมไว้ในยุ้งฉางเดียวกัน รวมทั้งยังนำปุ๋ย แผ่นยางพารา และวัสดุอื่นๆ เก็บไว้ในยุ้งฉางด้วย และสภาพยุ้งฉางมักเป็นโรงเรือนเปิดไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ จึงส่งผลให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ข้าวของเเกษตรกรทั้ง 9 ราย จึงไม่เหมาะที่เก็บไว้ทำพันธุ์
จากการศึกษาผลของวิธีการเก็บรักษาต่อคุณภาพเมล็ดข้าวสังข์หยด เพื่อหาวิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดที่เหมาะสมสำหรับสภาพท้องถิ่น แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปแนะนะให้กับเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อประสิทธิภาพในการผลิตและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดที่ปลูก เก็บเกี่ยว นวด และลดความชื้น จากแปลงและฤดูกาลเดียวกันมาเก็บรักษาไว้ที่สภาพห้องเก็บปกติ คือ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ประกอบด้วยวิธีการเก็บรักษาในภาชนะบรรจุ 5 ชนิด ได้แก่ ปี๊บสังกะสี กระสอบปุ๋ย กระสอบป่าน ถุงผ้าดิบ และกะละมังพลาสติก ทำการทดลอง ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือน มกราคม พ.ศ.2550 ทุกๆเดือนสุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดจากภาชนะบรรจุทั้ง 5 ชนิด มาตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ผลการทดลอง พบว่า การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดในปี๊บสังกะสีปิดฝามีประสิทธิภาพดีที่สุดสามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ให้มีความงอกสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการเก็บรักษาเมล้ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด ไว้นาน 6 เดือน ในขณะที่การเก็บรักษาในกะละมังพลาสติกซึ่งเป็นสภาพเปิด และการเก็บรักษาในกระสอบป่าน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกค่อนข้างต่ำ ส่วนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยดในกระสอบปุ๋ยและถุงผ้าให้ผลใกล้เคียงกัน และเหมาะสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ในระยะสั้น
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU