หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ดอกไม้ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Creative of Southern Thai Folk Dance Provincial Flowers that appeared in the area of the Songkhla lake Basin for information and to Promote tourism.
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. กฤติยา ชูสงค์
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ. อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
แหล่งทุนภายนอก - สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ
2562
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
748,800 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
วัฒนธรรมจังหวัด
สถานะของผู้ประสานงาน
ผอ.สำนักวัฒนธรรมจังหวัด
ประเภทงานวิจัย
กลุ่ม
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
การสร้างสรรค์, การแสดงพื้นบ้านภาคใต้, ดอกไม้ประจำจังหวัด, ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา, ประชาสัมพันธ์, การท่องเที่ยว
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาและเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมผลการวิจัยพบว่าจังหวัดในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ 1) จังหวัดสงขลา ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกเฟื่องฟ้า 2) จังหวัดพัทลุง ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกพะยอม 3) จังหวัดนครศรีธรรมราช ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกราชพฤกษ์ คณะผู้วิจัยได้ออกแบบสร้างสรรค์ผลงานการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ จำนวน 3 ชุด คือ ระบำดอกเฟื่องฟ้า ระบำดอกพะยอม และระบำดอกราชพฤกษ์ ตามลำดับ โดยสร้างสรรค์ตามลักษณะของดอกไม้ประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัด เช่น สีของดอกไม้ทั้ง 3 ชนิด กำหนดให้เป็นสีของเครื่องแต่งกาย และออกแบบดอกไม้นำมาเป็นเครื่องประดับศีรษะ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้เครื่อง 5 เรียบเรียงทำนองเพลงขึ้นใหม่เพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละจังหวัด เรียบเรียงโดยครูควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ.2553 กระบวนท่ารำแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สื่อถึงลักษณะของลำต้นและดอกไม้ ช่วงที่ 2 นำเสนอเกี่ยวกับสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด โดยนำเสนอผ่านรูปแบบการแสดงพื้นบ้านภาคใต้
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU