 |
|
 |
|
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย |
การผลิตและประยุกต์ใช้สาหร่ายขนาดเล็ก เพื่อทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย |
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ |
Production and Application of Microagae for Fish meal substitution in Diet for Hybrid clarias catfish (clarias macrocephalus x Clarias gariepinus) |
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ | นาง พัชรี หลุ่งหม่าน | ผู้ร่วมวิจัย | รศ. นฤมล อัศวเกศมณี | ผู้ร่วมวิจัย | ผศ. เสาวนิตย์ ชอบบุญ |
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย |
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
สาขาการวิจัย |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
ปีงบประมาณ |
2551 |
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย |
1 ปี |
งบประมาณ |
45,000 บาท |
พื้นที่ทำการวิจัย |
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา |
ผู้ประสานงานในพื้นที่ |
ไม่ระบุ |
สถานะของผู้ประสานงาน |
ไม่ระบุ |
ประเภทงานวิจัย |
เดี่ยว |
สถานะงานวิจัย |
ดำเนินการเสร็จสิ้น |
คำสำคัญ |
สาหร่ายขนาดเล็ก , อาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย, ปลาป่น , สภาวะอาหารที่เหมาะสม |
บทคัดย่อ |
ปัจจุบันสาหร่ายขนาดเล็กได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการค้า เช่น นำมาผลิตเป็นอาหารเสริมเพิ่มคุณค่าทางอาหาร สำหรับมนุษย์และเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากมีโปรตีนสูง นอกจากนี้ยังพบว่าสาหร่ายยังผลิตสารสี ใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ดังนั้นในงานวิจัยครั้งนี้จึงได้ใช้สาหร่ายขนาดเล็ก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Chlorella sp. Haematococcus sp. และ Aphanothece saxicola ซึ่งแยกได้จากบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นำมาเลี้ยงในอาหารสูตร Allen ' s, BG-11 และ NSIII เพื่อผลิตโปรตีนและแคโรทีนอยด์ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นแหล่งโปรตีน ทดแทนปลาป่นในอาหารเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ผลการศึกษาพบว่า Aphanothece saxicola มีประสิทธิภาพในการผลิตโปรตีนสูงสุด 339.62 µg/ml จึงนำสาหร่ายและสูตรอาหารดังกล่าวไปศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม ส่วน Chlorella sp. ผลิตแคโรทีนอยด์สูงสุด 1,613.68 µg/ml เมื่อนำสูตรอาหาร Allen's มาศึกษาความเข้มข้นของสารอาหารที่เหมาะสม โดยการออกแบบสูตรอาหารด้วยวิธี Two- level Factorial design จากนั้นนำสาหร่ายมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่ 27 ซึ่งประกอบด้วย NaNO3 0.05 g/l , K 2HPO4 0.002 g/l , MgSO4 . 7H2O 0.0095 g/l , CaCl2 0.003 g/l และ trace element 0.15 g/l ผลิตโปรตีนได้ 799.62 µ / ml ซึ่งสูงจากสูตรเริ่มต้น 2.35 เท่า เมื่อนำ Aphamothece saxicola มาวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า มีปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 0.93 % ไขมัน 0.26 % และเถ้า 6.83 %
ใช้สาหร่าย Aphanotheca saxicola (OD.1.088) ทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารที่ระดับ 0,10,20 และ 30 % เพื่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย น้ำหนักเฉลี่ย 3.5 กรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถใช้สาหร่าย Aphanothece saxicola แทนปลาป่นได้ในระดับ 10% และ 20% ในสูตรอาหาร ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เมื่อเทียบกับอาหารสูตรควบคุม และปลาดุกบิ๊กอุยที่ได้รับอาหารทดลองที่มีสาหร่าย Apanotece saxicola ระดับ 20 % และ 30 % มีค่าสีผิวที่ค่าความเข้มของสีแดง (a*) และสีเหลือง (b*) ดีที่สุด |
Fulltext |
ไม่มีไฟล์ |
จำนวนการอ่าน |
|
|
Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU
|
|
|
|