หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสังเคราะห์ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน เพื่อลดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมโดยโมเดลจลนพลศาสตร์และการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
The Optimization of the Stnthesis Condition for Urea-formaldehyde Resin to Minimize the Formaldehyde Residue in Environment by Kinetic Model Computer Simulation
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. พลพัฒน์ รวมเจริญ
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ
2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
423,400 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน , โมเดลการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ , จลนศาสตร์
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันนี้ ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม แหล่งของฟอร์มาลดีไฮด์ที่สำคัญแ หล่งหนึ่ง คือ ยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน ซึ่งใช้ประโยชน์เป็นกาวไม้อัด และมักปลดปล่อยฟอร์มาลดีไฮด์ในระหว่างกระบวนการสังเคาระห์เรซิน งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างโมเดลจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาการเกิดยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์เรซินในขั้นตอนการเกิดพรีพอลิเมอร์ โมเดลจลนศาสตร์นั้นสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากกลไกปฏิกิริยา พบว่าสามารถแบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนแรก เกิดปฏิกิริยาเมทิลอลเลชันซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำปฏิกิริยาระหว่ายูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ทำให้เกิด เมทิลอลยูเรีย จากนั้นเป็นขั้นการควบแน่นระหว่างเมทิลอลยูเรียไปเป็นพรีพอลิเมอร์ซึ่งพร้อมจะคงรูปเป็นยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์เรชัน จากนั้นเป็นการสร้างจลนศาสตร์จากกลไกปฏิกิริยาและอาศัยเทคนิคการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำนายปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์ระหว่างการเกิดปฏิกิริยา ปรากฏผลการคำนวณปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่เปลี่ยนแปลงกับเวลาที่เกิดปฏิกิริยาจากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์สอดคล้องกับผลการทดลองซึ่งได้จากการเทคนิคการไทเทรต โดยศึกษาปริมาณสัดส่วนของยูเรีย : ฟอร์มาลดีไฮด์ โดยโมลเริ่มต้น เท่ากับ 1:1 1:2 และ 1:3 ในช่วงอุณหภูมิ 40-90
0
C และค่าความเป็นกรด - เบส เท่ากับ 4 , 7 ,9 จากนั้นนำโมเดลที่ได้จากการสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสัดส่วน อุณหภูมิและความเป็นกรด-เบส ต่อปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ที่ตกค้างในพรีพอลิเมอร์แต่ละสภาวะ รวมทั้งระยะเวลาที่เข้าสู่สมดุล เพื่อเลือกสภาวะที่ทำให้ฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างน้อยที่สุดมาดำเนินการทดลอง พบว่า ที่อุณหภูมิ 90
0
C ค่าความเป็นกรด-เบส เท่ากับ 9 และสัดส่วนยูเรียต่อฟอร์มาลดีไฮด์เท่ากับ 1:3 ที่ระยะเวลาการสังเคราะห์ 11 นาที มีฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างคิดเป็น 0.1 เปอร์เซ็นต์ของความเข้มข้นเริ่มต้น นอกจากนั้นในทางกลับกันโมเดลจลนศาสตร์ดังกล่าวยังสามารถใช้ทำนายว่าภายใต้สภาวะสัดส่วนของสารตั้งต้น และอุณหภูมิที่กำหนดจะมีฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างอยู่เท่าใด และช่วยทำนายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปริมาณหมู่ทำหน้าที่ของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ระหว่างการทดลอง ซึ่งช่วยทำให้ผู้ผลิตเลือกภาวะที่เหมาะสมในการผลิตให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามต้องการและวางแผนเพื่อลดมลพิษอันเกิดจากฟอร์มาลดีไฮด์ที่หลงเหลืออยู่จากการผลิตได้อย่างถูกต้อง
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU