ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลเกาะยอ
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Marketing Information system for Agricultural tourism in Kohyor

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. ธนภัทร ยีขะเด

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบวิจัยคณะ (เงินบำรุงการศึกษา)
สาขาการวิจัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ปีงบประมาณ 2552
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ระบบสารสนเทศทางการตลาด, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
บทคัดย่อ        ระบบสารสนเทศทางการตลาดเืพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกาตร  ตำบลเกาะยอได้จัดทำขึ้น  เนื่องจากผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบสารสนเทศและข้อมูลข่าวสารในการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นยุคที่การดำเนินธุรกิจ  การตัดสินใจและการกำหนดกลยุทธ์ล้วนอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศแทบทั้งสิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวาสารทางการตลาด  จึงได้ทำการศึกษาวิจัยระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลเกาะยอขึ้นมา  เืพื่อต้องการที่จะทราบข้อมูลข่าวสารทางด้านการตลาดทั้งในมุมมองของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ  โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปรสงค์ในวิจัยสองประเด็นคือ  เืพ่อต้องการทราบถึงข้อมูลและสารสนเทศทางการตลาดที่จำเป็นสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลเกาะยอ  และเพื่อต้องการทราบถึงแนวทางและวิธีบริหารจัดการสารสนเทศเพื่อการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเ้กษตรตำบอลเกาะยอ  โดยประยุกต์ใช้แนวคิดระบบสารสนเทศทางด้านการตลาดของคอตเลอร์  ในส่วนของระเบียบวิธีวิจัยนั้น  ใช้วิธีวิจัยหลายรูปแบบท่ประกอบการศึกษา (Intregated survey) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนตั้งแต่การวิจัยเอกสารหรืองานวิชาการที่เกี่ยวข้อง  งานวิจัยเชิงสำรวจ  และงานวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative research) แล้วทำการประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล  อภิปรายผลและรายงานผลการวิจัย  โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ซึ่งผลการศ฿กษาพบว่าระบบสารสนเทศทางด้านการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นลูกค้าจะให้ความสำคัญกับส่วนผสมทางด้านการตลาดในประเด็นด้านสินค้า (Products)  และสถานที่ (Place) มากกว่าเรื่องของราคา (Price) และการส่งเสริมการขาย (Promotion) นอกจากนี้การศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับการรับรู้ข่าวสารหรือช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรดังนั้น  ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยแนะนำว่าผู้ประกอบการจึงควรหันมาให้ความสนใจกับระบบสารสนเทศทางด้านการตลาดในประเด็นเรื่องความต้องการของลูกค้า (Customer Need) การนำเสนอความคุ่มค่าให้แก่นักท่องเที่ยว (Cost) โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร (Communication) ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงและรับรู้ข่าวสารได้
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU