หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การเตรียมและสมของยางธรรมชาติอิพอกซิไดซ์ : ผลของปริมาณอิพอกไซด์ต่อสมบัติเชิงกลและสมบัติทนน้ำมัน
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Preparation and properties of Epoxidation on Mechanical Properties and Oil Resistance
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว พิรุณพร อยู่ยืน
ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว อัจฉรา ผดุงเดช
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ปีงบประมาณ
2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
น้ำยางธรรมชาติ , อิพอกซิเดชัน , ความทนน้ำมัน , สมบัติเชิงกล
บทคัดย่อ
ยางธรรมชาติอิพอกไซด์เป็นยางที่ได้จากการดัดแปรโมเลกุลยางธรรมชาติ โดยทำปฏิกิริยาอิพอกซิเดชันเพื่อปรับปรุงสมบัติการทนน้ำมัน ซึ่งเป็นข้อด้อยของยางธรรมชาติ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองในสภาวะน้ำยาง เพราะเป็นวิธีที่สะดวกประหยัดและปลอดภัย ในการทำปฏิกิริยาอิพอกซิเดชัน ได้ใช้กรดเปอร์ฟอร์มิกซึ่งได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดฟอร์มิกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จากการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างเคมีและวิเคราะห์ปริมาณหมู่อิพอกไซด์ที่เกิดขึ้น ด้วยเทคนิค FTIR พบว่าแถบการดูดกลืนแสงอินฟราเรดในช่วงเลขคลื่น 870 cm
-1
และ 1240 cm
-1
แสดงว่ามีหมู่อิพอกไซด์เกิดขึ้นบนโครงสร้างยางธรรมชาติจริง และจากการแปรสัดส่วนของกรดฟอร์มิกและไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จำนวน 2 สัดส่วน ได้แก่ 0.1 ต่อ 0.1 0.1 ต่อ 0.2 และ 0.2 ต่อ 0.4 จะได้เปอร์เซนต์อิพอกไซด์ เท่ากับ 15 20 และ 45 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาสมบัติการใช้งาน ได้แก่ ความทนน้ำมัน และสมบัติเชิงกลของตัวอย่างชิ้นงานในรูปของแผ่นฟิล์มยาง ในการศึกษาสมบัติความทนน้ำมันพบว่าน้ำยางธรรมชาติอิพอกไซด์ มีความสามารถในความทนน้ำมันดีกว่ายางธรรมชาติและเมื่อปริมาณอิพอกไซด์เพิ่มขึ้นความทนน้ำมันดีขึ้น สำหรับสมบัติเชิงกล ค่าความต้านทานต่อแรงดึงและมอดูลัสที่่เปอร์เซ็นต์การยืดที่ 100 และ 300 ด้อยกว่ายางธรรมชาติเล็กน้อย
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU