ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การสร้างพื้นผิวในงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Creation texture in serigraphy by local materials found in Songkhla.

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. อริยา กัณฑลักษณ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 4 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ วัสดุพื้นถิ่น, งานภาพพิมพ์
บทคัดย่อ                 การสร้างพื้นผิวในงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเทคนิควิธีการ รวบรวม จำแนก และเปรียบเทียบพื้นผิวเพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา โดยการศึกษาลักษณะพื้นผิวของพืชชนิดต่างๆ พื้นผิววัสดุสังเคราะห์ และพื้นผิวหัตกรรมพื้นบ้าน เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ตะแกรงไหม
                ผลการวิจัย พบว่า วัสดุพื้นถิ่นที่มีความเหมาะสมในการสร้างพื้นผิว ควรมีลวดลายที่จัดเจน มีความบาง มีความโปร่ง มีความยืดหยุ่น สามารถดูดซับกาวอัดได้ดี มีความคงทน ในงานวิจัยนี้ใช้ 3 เทคนิคด้วยกันในสร้างพื้นผิว ได้แก่ 1) การสร้างภาพพิมพ์โดยใช้พื้นผิวของวัสดุโดยตรงมาประทับรอยแม่พิมพ์ 2) การสร้างภาพพิมพ์โดยเทียนไข หรือวัสดุที่เป็นไขมาขูดทับให้เกิดร่องรอย และ 3) การสร้างภาพพิมพ์โดยการอัดบล็อกสกรีน
                วัสดุที่ใช้ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ วัสดุธรรมชาติ ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกคุณสมบัติของวัสดุที่มีความเหมาะสมทั้ง 9 ชนิด และวัสดุสังเคราะห์ 6 ชนิด ซึ่งพบว่า วัสดุแต่ละชนิดมีพื้นผิวต่างกัน เมื่อนำมาผสมและทับซ้อนกัน ก็จะเกิดมิติของลวดลาย นำมาสร้างรูปร่าง รูปทรง ตามหลักองค์ประกอบทำให้ได้ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม โดยใช้พื้นผิวของวัสดุพื้นถิ่นที่สมบูรณ์ มีเอกภาพ
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU