ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การเตรียมถ่านกัมมันต์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งต้นสาคูเป็นตัวดูดซับสำหรับกำจัดไอออนตะกั่วจากสารละลาย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ -

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ.ดร. จารุวรรณ คำแก้ว
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. ประสิทธิ์ รุ่งเรือง
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว นรารัตน์ ทองศรีนุ่น

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
ปีงบประมาณ 2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 200,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ต้นสาคู, กัมมันตรังสี
บทคัดย่อ           งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกากต้นสาคูที่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง ทางการเกษตรโดยการกระตุ้นด้วยสารเคมีที่มีการเตรียม 2 ขั้นตอน ได้แก่การคาร์บอไนซ์และการก่อกัม มันต์ถ่านคาร์บอไนซ์ที่เตรียมได้โดยศึกษาสภาวะต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์ได้แก่ อุณหภูมิ ระยะเวลา และขนาดของถ่าน และศึกษาสภาวะต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการก่อกัมมันต์ได้แก่ ชนิดของ สารเคมีที่ใช้ก่อกัมมันต์และอัตราส่วนการจุ่มชุบระหว่างน้ําหนักของถ่านคาร์บอไนซ์ต่อปริมาตรของสาร ก่อกัมมันต์โดยมีขั้นตอนในการก่อกัมมันต์ดังนี้คนสารผสมที่อุณหภูมิห้องนาน 30 นาทีเก็บที่อุณหภูมิ 105 C นาน 24 ชั่วโมง ล้างด้วยน้ํา DI 5 ครั้ง แล้วกรอง นําถ่านที่กรองได้ไปแช่ด้วยสารละลาย NaHCO3 เข้มข้น 5% นาน 24 ชั่วโมง กรองถ่าน ล้างถ่านที่กรองได้ด้วยน้ํา DI จนได้ pH 7 แล้วนําถ่านไปอบที่ อุณหภูมิ 105 C นาน 3 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเผาที่อุณหภูมิ 300 C เป็นเวลา 105 นาทีเป็น สภาวะที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์ให้ถ่านที่มีขนาด 500-1,000 μm เพื่อนําไปใช้ก่อกัมมันต์ต่อไป และ สภาวะที่เหมาะสมในการก่อกัมมันต์คือ กระตุ้นถ่านคาร์บอไนซ์ด้วยสารละลายกรด H2SO4 เข้มข้น 50% ในอัตราส่วนของส่วนผสมเท่ากับ 1:3 ถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ถูกนําไปตรวจหาคุณลักษณะเฉพาะด้วย เทคนิค FT-IR และลักษณะโครงสร้างอสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) เปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ทางการค้าและถ่านคาร์บอไนซ์ ผลการตรวจพบว่าถ่านกัมมันต์จากกากต้น สาคูมีหมู่ซัลเฟตอยู่ที่ผิว ในขณะที่ไม่พบหมู่ซัลเฟตที่ผิวถ่านกัมมันต์ทางการค้าและถ่านคาร์บอไนซ์จากกาก ต้นสาคูนอกจากนี้ยังตรวจพบอีกว่าถ่านกัมมันต์จากกากต้นสาคูมีโครงสร้างของรูพรุนขนาดที่ใหญ่และ สม่ําเสมอกว่า และมีสภาพพื้นผิวที่เรียบกว่าถ่านกัมมันต์ทางการค้า เมื่อนําถ่านกัมมันต์ที่เตรียมไปดูดซับสารละลายตะก่ัว พบว่าประสิทธิภาพในการดูดซับเท่ากับ 97.5% และไม่พบหมู่ซัลเฟตที่ผิวถ่านกัมมันต์ที่เตรียมเมื่อนําไปตรวจหาคุณลักษณะเฉพาะด้วย FT-IR จากนั้นได้ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดูดซับไอออนตะกั่ว ได้แก่ผลของ pH ผลของระยะเวลาในการ สัมผัส และผลของความเข้มข้นของไอออนตะกั่ว พบว่า ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการดูดซับไอออน ตะกั่วได้สูงสุด ที่ pH 6 เท่ากับ 97.9% ที่ระยะเวลาในการสัมผัสนาน 90 นาทีเท่ากับ 98.5% และที่ ความเข้มข้นของไอออนตะกั่ว 40 ppm เท่ากับ 98.6% นอกจากนี้ได้วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตถ่านกัมมันต์จากกากต้นสาคูเทียบกับราคาถ่านกัมมันต์ทาง การค้า ยี่ห้อ Fluka พบว่าถ่านกัมมันต์จากกากต้นสาคูมีต้นทุนการผลิตที่ต่ํากว่า จึงทําให้การผลิตถ่าน กัมมันต์จากกากต้นสาคูมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ในการแข่งขันทางธุรกิจเชิงพาณิชย์กับถ่านกัมมันต์ทาง การค้าได้สําหรับในอนาคตถ้าทําการผลิตถ่านกัมมันต์จากกากสาคูในปริมาณที่มากขึ้น จะทําให้สามารถ ประหยัดขนาดของการผลิตลงได
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU