ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย พัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Development and management model of Ban Tha Kura community and Ban Klong Ri community, Sathing Phra District, Songkhla Province

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาสังคมวิทยา
ปีงบประมาณ 2545
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 6 ปี
งบประมาณ 65,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การจัดการทรัพยากร, บ้านท่าคุระ, ชุมชนบ้านคลองรี
บทคัดย่อ           ศึกษาเรื่องพัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพัฒนาการของการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านคลองรีและชุมชนบ้านท่าคุระ ช่วงปีพ.ศ.2518 -2556และศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรระหว่างชุมชนบ้านคลองรีและชุมชนบ้านท่าคุระ และหาจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของทั้งสองชุมชนในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา(ตอนกลาง) ของชุมชนทั้งสองนี้โดยศึกษาแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาคือศึกษาการใช้ประโยชน์และรูปแบบในการจัดการทรัพยากรและรูปแบบที่ใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อนำรูปแบบของการจัดการทรัพยากรแบบพหุภาคีนำไปประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม
          การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการทรัพยากร โดยนำ เครื่องมือSWOTมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค และโอกาส ของพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลาและนำแนวคิดการจัดการอย่างมีส่วนร่วมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสอดคล้องกับพื้นที่
          ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก พัฒนาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองช่วงเวลามีการจัดการทรัพยากรทั้งสองชุมชนมีความเหมือนกัน โดยแบ่งเป็นสองยุค โดยการจัดการทรัพยากรพบว่าทั้งสองยุคมีความแตกต่างดังนี้ 1) ยุคแห่งการพัฒนาพิงพึ่งทรัพยากรธรรมชาติ :ก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรโดยไม่มีกฎระเบียบแบบลายลักษณ์อักษร ไม่มีโครงสร้างที่ตายตัวมีแต่เพียงด้านความเชื่อในสิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ทำให้ชาวบ้านทั้งสองชุมชนได้เคารพกฎกติกาควบคุมดูแลกันเอง ซึ่งเป็นวิถีการจัดการด้วยชาวบ้าน 2) ยุคแห่งการพัฒนา หลังการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา (2519) เกิดรูปแบบการจัดการทรัพยากรในลักษณะที่ตายตัว โดยทางรัฐออกตัวบทกฎหมายเข้ามาจัดการดูแลพื้นที่ มีการบังคับใช้นโยบายและมาตรการการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันวิธีการจัดการโดยภาครัฐนั้นมีหน่วยงานต่างๆที่ดูแลในพื้นที่เดียวกัน ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องกันจัดการที่ทับซ้อน
          ประการที่สอง การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ก่อนการประกาศชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างอิสระ แต่เมื่อทางรัฐประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชาวบ้านได้ถูกกำจัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร
          ประการสุดท้าย พบว่าเมื่อใช้เครื่องมือ SWOTวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ด้านจุดแข็งของพื้นที่ทะเลสาบสงขลาปรากฏนกนานาพันธุ์ชนิดที่อพยพมาจากไซบีเรียนมีความอุดมสมบูรณ์ทางพื้นที่สูง จุดอ่อน คือ การจัดการที่ทับซ้อนในพื้นที่เดียวกัน ปัจจัยภายนอกด้านโอกาส ภายนอกมีการใช้สถานที่เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางธรรมชาติเช่นค่ายอนุรักษ์ อุปสรรคที่ขัดขวางจากภายนอกเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน
          การจัดการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านการจัดการทรัพยากรโดยใช้รูปแบบพหุภาคีก่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ทรัพยากรตลอดจนด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองได้
 
 
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU