ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ THE EFFECTS OF USING FIVE STEPS FOR STUDENT DEVELOPMENT AND COACHING AND MENTORING SYSTEM IN MATHEMATICS ACHIEVEMENTS , COMMUNICATION ABILITIES AND REASONING ABILITY OF PRATOMSUKSA SIX STUDENTS

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว อังคณา อุทัยรัตน์

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ 2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น , กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ , ความสามารถ ในการสื่อสาร , ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงCoaching and Mentoringและเปรียบเทียบกับเกณฑ์
               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2559โรงเรียนเพาะปัญญา ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ระยะเวลาทดลองจำนวน 20 คาบ คาบละ 60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด และแบบสัมภาษณ์การสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for Dependent Samples และ t-test for One Sample
               ผลการวิจัยพบว่า
               1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
               2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.76 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.80
               3. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
               4. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 16.14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.70
               5. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
               6. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 15.95 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.75
               7. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นกับกระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoringจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับสูง สามารถพูดอธิบายโดยมีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน สื่อสารแนวคิดทุกครั้งได้อย่างชัดเจน จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับปานกลาง สามารถพูดอธิบายโดยมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 42.86 และมีส่วนน้อยที่มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูดอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอธิบายโดยใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีการสื่อสารแนวคิด จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 23.81
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU