หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การหาสภาวะที่เหมาะสมของการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และไซลาเนส ที่มีผลต่อการเลี้ยงเชื้อราฆ่าแมลงในวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Optimization for Cellulase and Xylanase Enzyme Production Affecting to Entomopathogenic Fungi Production with Agricultural Waste
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. วนิดา เพ็ชร์ลมุล
ผู้ร่วมวิจัย
ผศ.ดร. กันตภณ มะหาหมัด
ผู้ร่วมวิจัย
ดร. นราวดี บัวขวัญ
ผู้ร่วมวิจัย
นาย ธวัชชัย ศรีพรงาม
ผู้ร่วมวิจัย
รศ.ดร. ไสว บัวแก้ว
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ
2557
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
3 ปี
งบประมาณ
90,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
เอนไซม์เซลลูเลส ,ไซลาเนส, เชื้อราฆ่าแมลง
บทคัดย่อ
เมื่อนำเชื้อราแมลงจำนวน 10 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Metarhizium anisopliae จำนวน 5 สายพันธุ์ (M8 M3 M6 M33 และ MNCBRC) และ Beauveria bassiana จำนวน 5 สายพันธุ์ (BPMC B14532 B14841 B16041 และ BNBCRC) มาทดสอบการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส และไซลาเนส จากนั้น คัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อศึกษาหาสภาวะของค่าความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิที่ เหมาะสมต่อกิจกรรมของเอนไซม์ทั้งสองชนิด ได้ด้วยวิธีทางสถิติแบบพื้นผิวตอบสนอง (Response surface methodology, RSM) โดยใช้วิธี Central Composite design (CCD) และศึกษาผลการ เจริญและการสร้างโคนิเดียของเชื้อราที่คัดเลือกได้โดยเลี้ยงด้วยวัสดุเศษเหลือจากโรงงานสกัดน้ำมัน ปาล์มจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ DC: กากตะกอนดีแคนเตอร์ POME: น้ำทิ้งหลังสกัดน้ำมันปาล์ม EFB: ทะลายปาล์มเปล่า OPT: ลำต้นปาล์ม OPF: ทางปาล์ม OPM: กากปาล์ม
ผลการทดลองพบว่า เชื้อรา B. bassiana ที่ผลิตเอนไซม์เซลลูเลส (3.59 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) และไซลาเนส ได้สูงที่สุดคือ เชื้อรา B. bassiana B14532 (39.00 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ดังนั้น B. bassiana B14532 จึงถูกคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อ โดยสภาวะที่เหมาะสมต่อกิจกรรมของเอนไซม์เซลลู เลส คือ กิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสสูงขึ้น (3.89 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ที่สภาวะค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 6.5 และอุณหภูมิที่เหมาะสมเท่ากับ 80 องศาเซลเซียส สำหรับกิจกรรมของเอนไซม์ไซลาเนสสูง ขึ้น (41.01 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ที่สภาวะค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 6.5 และอุณหภูมิที่เหมาะสม เท่ากับ 55 องศาเซลเซียส ที่ค่าสัมประสิทธิ์ (R 2 ) เท่ากับ 0.96เมื่อเลี้ยงเชื้อรา B. bassiana B14532 บนวัสดุเศษเหลือจากโรงงานสกัดน้ ามันปาล์มทั้ง 6 ชนิด ที่อุณหภูมิ 30+2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน พบว่า เชื้อรา B. bassiana B14532 สามารถเจริญได้สูงสุด (1.90-3.26 เซนติเมตรต่อวัน) และ ผลิตโคนิเดียได้สูงสุด (4.20 x 107 โคนิเดียต่อมิลลิลิตร) เมื่อเลี้ยงด้วยกากตะกอนดีแคนเตอร์ขณะที่ พบการเจริญได้ต่ าสุด (1.12-1.20 เซนติเมตรต่อวัน) และผลิตโคนิเดียได้น้อยที่สุดเท่ากับ 1.20 x 107 โคนิเดียต่อมิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงด้วยทางปาล์ม
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU