หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
พฤติกรรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพค (OPAC): กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
นางสาว ศรัญญา โรจนวงศ์ชัย
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ปีงบประมาณ
2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
ทรัพยากรสารสนเทศ, โอแพค
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมรวมถึงปัญหาการสืบค้น ทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพค (OPAC) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 จำนวน 400 คน ใช้วิธี สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามชั้นปี นำผลวิจัยมาวิเคราะห์ด้วยการคำนวณร้อยละ ค่าความถี่ และ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้โอแพคเพื่อค้นหาทรัพยากร สารสนเทศประกอบการเรียน ขณะที่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้โอแพคเพื่อค้นหา ทรัพยากรสารสนเทศประกอบการทำรายงาน/วิจัย ด้านวิธีเรียนรู้การใช้โอแพคพบว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 4 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการเข้าอบรม กับห้องสมุด นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการเข้าเรียนในรายวิชา ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ส่วนใหญ่เรียนรู้จากการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ด้านการกำหนดคำค้นและทางเลือกการสืบค้นพบว่านักศึกษาทุกชั้นปีเกือบทั้งหมดใช้คำค้น ตรงกับเนื้อหาที่ต้องการและเลือกสืบค้นด้วยชื่อเรื่อง(คำสำคัญ) เมื่อประสบปัญหาระหว่างสืบค้นจะ เปลี่ยนคำค้น หลังจากได้รับผลสืบค้นแล้วจะคัดกรองผลสืบค้นด้วยประเภทวัสดุ และสิ้นสุดการสืบค้น เมื่อได้รับทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามต้องการ
นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาทุกชั้นปีประสบปัญหาการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยโอแพคนาน ๆ ครั้งใน 3 ด้าน คือ 1) ผู้ให้บริการและการให้บริการ 2) ด้านผู้ใช้บริการ และ 3) ด้านระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ส่วนปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพบว่า ประสบปัญหาด้านนี้บ่อยครั้ง
เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศด้วยโอแพคพบว่านักศึกษาชั้นปี ต่างกันมีความถี่ในการประสบปัญหาการสืบค้นไม่แตกต่างกันใน 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านผู้ให้บริการ และการให้บริการ 2) ปัญหาด้านผู้ใช้บริการ และ 3) ปัญหาด้านระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ต่างจากปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พบว่านักศึกษาชั้นปีต่างกันมีความถี่ในการ ประสบปัญหาด้านนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีแนวโน้มว่านักศึกษาชั้นปี ที่ 4 ประสบปัญหาด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบ่อยครั้งกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 1
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU