ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การประยุกต์ใช้ไมโครเวฟในการสังเคราะห์ไทเทเนียมไดออกไซด์เพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The application of microwave-assisted to synthesized titanium dioxide to inhibition of bacteria

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการรศ.ดร. วีระชัย แสงฉาย

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ปีงบประมาณ 2560
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ 400,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงิน, กระบวนการโซล-เจลทีใช้ไมโครเวฟ, การยับยั้งเชื้อ, ปฎิกิริยาโฟโตแคตะไลติก
บทคัดย่อ           ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงิน(0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 เปอร์เซ็นต์โมล ของเงิน) เตรียมด้วยกระบวนการโซล-เจล แล้วนำเคลือบบนกระจกด้วยกระบวนการโซล-เจลที่ใช้ไมโครเวฟ โดยลักษณะโครงสร้างต่าง ๆ ของฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงินที่สังเคราะห์จะใช้เทคนิค SEM, XRD, EDX และ AFM ในการวิเคราะห์ ผลพบว่าโครงสร้างของไทเทเนียมไดออกไซด์จะเป็นเฟสอะนาเทสเพียงอย่างเดียว แล้วนำฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงินไปทดสอบปฏิกิริยาโฟโตแคตะไลติกในการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลู พร้อมทั้งทดสอบสมบัติการยับยั้งเชื้อ E.coli และ S.aureusผลการทดลองพบว่า ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงิน แสดงประสิทธิภาพของปฏิกิริยาโฟโตแคตะไลติกในการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลู และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ E.coliและ S.aureusที่สูงกว่าฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ไม่มีการเจือเงิน โดยประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ E.coliและ S.aureusจะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของปฏิกิริยาโฟโตแคตะไลติกในการย่อยสลายสารละลายเมทิลีนบลู และยังพบเพิ่มอีกว่าฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์เจือเงิน ที่ปริมาณเงิน เท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์โมล ให้ค่าปฏิกิริยาโฟโตแคตะไลติก สมบัติการยับยั้งเชื้อ E.coliและ S.aureusที่สูงสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 81.43, 91.02 และ 93.88 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU