ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาถังผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ The Development of Bio-gas Generating Tank from Organic Waste

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการนางสาว ผจงสุข สุธารัตน์
ผู้ร่วมวิจัยผศ. เสาวนิตย์ ชอบบุญ
ผู้ร่วมวิจัยดร. นิศากร วิทจิตสมบูรณ์
ผู้ร่วมวิจัยผศ.ดร. อนุมัติ เดชนะ

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2554
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 6 ปี
งบประมาณ 144,900 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.บางเขียด อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารตำบลคลองรี
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ขยะอินทรีย์, มูลสุกร, ก๊าชชีวภาพ
บทคัดย่อ           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์นั้นคือ เศษอาหารและมูลโคผสมมูลสุกร โดยใช้ถังหมักแบบขั้นตอนเดียว ซึ่งเริ่มจากการประกอบถังจำนวน 2ชุด ขนาดขนาด 1,000ลิตร และใช้เศษอาหารและมูลสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยดำเนินระบบแบทซ์ และกึ่งต่อเนื่อง ที่ช่วงอุณหภูมิเมโซฟิลิก (25°C~30° C) ผลการทดสอบแบบแบทซ์ของเศษอาหารและมูลสัตว์ พบว่าเมื่อใช้อัตราการป้อนสารอินทรีย์ เท่ากับ 0.74และ 0.66กรัม VSต่อลิตร×วัน ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพเฉลี่ยวันละ 145.04 และ 137.12 ลิตร และให้ค่าปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดที่ผลิตได้ต่อสารอินทรีย์ที่เติมเข้าระบบ 0.267 และ 0.275ลิตรต่อกรัม VS ที่เติมเข้าระบบ ตามลำดับ ขณะที่ผลการทดสอบแบบกึ่งต่อเนื่องของเศษอาหารและมูลสัตว์เมื่อใช้อัตราการป้อนสารอินทรีย์ เท่ากับ 0.82และ 0.7กรัม VSต่อลิตร×วัน ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพเฉลี่ยวันละ 397.85และ 332.85ลิตร และให้ค่าปริมาณก๊าซชีวภาพทั้งหมดที่ผลิตได้ต่อสารอินทรีย์ที่เติมเข้าระบบ 0.647และ 0.630ลิตรต่อกรัม VS ที่เติมเข้าระบบ ตามลำดับ จึงสามารถสรุปได้ว่าถังหมักแบบขั้นตอนเดียวเมื่อดำเนินระบบแบบกึ่งต่อเนื่องสามารถเพิ่มปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากวัตถุดิบเศษอาหารและมูลสัตว์ ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการปรุงอาหารภายในครัวเรือนในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU