ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย โครงการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันบริวเณรอบทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Applied Research for Study the Performance of the Grease Traps Around Middle and Lower Songkhla Lake

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. กมลนาวิน อินทนูจิตร
ผู้ร่วมวิจัยนางสาว นัดดา โปดำ
ผู้ร่วมวิจัยผศ. ขวัญกมล ขุนพิทักษ์
ผู้ร่วมวิจัยผศ. หิรัญวดี สุวิบูรณ์
ผู้ร่วมวิจัยนาย สอแหละ บางูสัน

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ปีงบประมาณ 2558
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 2 ปี
งบประมาณ 60,000 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ -
สถานะของผู้ประสานงาน -
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ การกำจัดน้ำมัน, ไขมันในน้ำ
บทคัดย่อ           จากการศึกษาลักษณะของน้ำเข้าและน้ำออก ประสิทธิภาพการกำจัดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียจากครัว ร้านอาหาร และวัด ในพื้นทีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนล่าง พบว่า  ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของบ่อดักไขมันทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง มีค่าใกล้เคียงกันและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณไขมันก่อนเข้าระบบสำหรับปริมาณไขมันก่อนเข้าระบบบำบัดทั้งสี่แบบ ได้แก่ ถังดักไขมันแบบติดตั้งที่บ้านเรือนที่มีอ่างล้างจาน ถังดักไขมันแบบที่ติดตั้งที่ร้านค้าอาหาร  บ่อดักไขมันแบบนำร่องขนาด 200 ลิตร และ บ่อดักไขมันแบบนำร่องขนาด 400 ลิตรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.1 1443.5 831 และ 1009 mg/Lซึ่งเป็นค่าที่แตกต่างกันมากเทียบปริมาณน้ำทิ้งกับมาตรฐานน้ำทิ้งที่ระบุให้ค่าน้ำมันและไขมันไม่เกิน 100 mg/l แล้วพบว่า ปริมาณน้ำมันและไขมันในน้ำออกของถังดักไขมันจากครัวและวัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่น้ำทิ้งจากตลาดสดและร้านอาหารยังมีค่าเกินมาตรฐาน และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดแต่ละรูปแบบของถังดักไขมันทั้งสี่รูปแบบ พบว่า ถังดักไขมันแบบดักไขมันแบบนำร่องขนาด 200ลิตร และ 400ลิตรให้ประสิทธิภาพการบำบัดที่สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับถังดักไขมันประเภทอื่น การนำกากไขมันไปใช้ประโยชน์ มีความเป็นไปได้ที่จะไปทำปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยมีค่าเฉลี่ยของทุกระบบได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม เท่ากับ 5.47 1.54และ 4.57  จะเห็นได้ว่าไนโตรเจนและโพแทสเซียมนั้นมีค่าที่เหมาะสม แต่ในส่วนของฟอสฟอรัส อาจจะจำเป็นต้องเติมฟอสฟอรัสโดยตรงหรือธาตุอาหารเช่น กระดูกป่น หรือ เถ้ากระดูก เป็นต้น สำหรับการ ทำอาหารสัตว์ พบว่าปริมาณโปรตีนที่วิเคราะห์ได้นั้นเพียงพอสำหรับการ ทำอาหารปลาและหมูคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14-36 % เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการ เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ แต่มีปริมาณไขมันจะมีมากจึงอาจจะจำเป็นต้องลดปริมาณไขมันลง แต่จำเป็นต้องคำนวณปริมาณไขมันให้พอดีกับความต้องการของสัตว์ โดยอาจจะต้องเพิ่มวัตถุดิบที่มีโปรตีนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
Fulltext [Download]
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU