ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย การพัฒนาคุกกี้ข้าวพองจากข้าวสังข์หยด
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ Development Cookie Puffed Rice from Sung Yod Rice

ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการผศ. ณฐมน เสมือนคิด

รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
สาขาการวิจัย สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ปีงบประมาณ 2549
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 1 ปี
งบประมาณ ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่ ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย เดี่ยว
สถานะงานวิจัย ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ ข้าวสังข์หยด , คุกกี้ข้าวพอง
บทคัดย่อ                  กรรมาวิธีการผลิตข้าวพองจากข้าวสังข์หยดที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุด คือ การหุงข้าวสังข์หยดด้วยอัตราส่วนของข้าวสังข์หยด : น้ำ : 1 : 1.5 อบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส  จนมีความชื้นร้อยละ  8  นำไปทอดที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส และสังเกตการพองตัวของข้าว โดยข้าวพองจะมีความร่วนของเมล็ดข้าวมากที่สุด มีสีอ่อนที่สุด การอมน้ำมันน้อยที่สุด  และมีความกรอบมากที่สุด ส่วนปริมาณข้าวพองที่เหมาะสมในการผลิตคุกกี้ข้าวพองจากข้าวสังข์หยด คือ ร้อยละ  15  ของส่วนผสมทั้งหมด  จากนั้นนำผลิตภัณฑ์คุกกี้ข้าวพองจากข้าวสังข์หยด ที่ได้รับการยอมรับศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีคาร์โบไฮเดรต  ไขมัน โปรตีน เถ้า ความชื้น  และเยื่อใย  ร้อยละ 60.11  30.79  5.67  1.88  1.08  และ 0.47 ตามลำดับ  เมื่อนำผลิตภัณฑ์คุกกี้ข้าวพองจากข้างสังข์หยดจำนวน 5 ชิ้น ๆละ 10 กรัม บรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีน (PP) เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง  เป็นระยะเวลา 35 วัน พบว่า ปริมาณความชื้นและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา  โดยในสัปดาห์ที่  5 ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของคุกกี้ (มผช.136/2546) แต่ไม่พบเชื้อยีสต์และเชื้อราตลอดระยะเวลาในการเก็บรักษา เมื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคทั่วไปในจังหวัดสงขลา  พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์คุกกี้ข้าวพองข้าวสังข์หยดและยินดีซื้อผลิตภัณฑ์
Fulltext ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน

Best Screen Resolution 1024x768 pixel and Text Size as Medium

Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by IRD.SKRU