หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การปนเปื้อนของสารออร์แกโนตินในอ่าวเมืองเก่าสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
Contamination of Organotin on Songkhla Old-Town Coast
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร. ธิวาริ โอภิธากร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
งบประมาณแผ่นดิน(วช.)
สาขาการวิจัย
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ปีงบประมาณ
2559
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
1,488,821 บาท
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
-
สถานะของผู้ประสานงาน
-
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
-
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณสารออร์แกโนทินในตะกอนดินและน้ำทะเลตามแนวชายฝั่งเมืองเก่าสงขลา ทำการเก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนจากจุดสำรวจ 5 จุด ในเดือนเมษายน 2559ได้แก่ ท่าแพขนานยนต์สงขลา ท่าเรือตรงข้ามสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจสงขลา ท่าเรือแหล่งพระราม ท่าเรือโรงสีแดงหับโห้หิ้น และท่าเรือข้างโรงแรมเลคอินน์ เตรียมน้ำตัวอย่างด้วย Liquid – liquid extraction และเตรียมตะกอนดินตัวอย่างด้วย Methanol-acid digestion ทำการวิเคราะห์ปริมาณสารออร์แกโนทินด้วย GC-MS ผลการวิเคราะห์ไม่พบการปนเปื้อนสารออร์แกโนทินในน้ำทะเลในทุกตัวอย่าง และผลการวิเคราะห์ด้วย ICP-OESไม่ปรากฏค่า Sn ในน้ำทะเลทุกตัวอย่าง ปริมาณออร์แกโนทินในตะกอนดินไม่เกินค่าที่ยอมรับให้มีได้ในตะกอน องค์ประกอบของออร์แกโนทินในตะกอนดินเป็นไตรบิวทิลทินมากที่สุด (37-56%) และไดบิวทิลทินน้อยที่สุด (14-33%) การประเมินสภาพแวดล้อมตามปัจจัยทางกายภาพ-เคมีของน้ำทะเลในทะเลสาบสงขลาพบว่าค่าความเป็นกรดด่างเฉลี่ยของน้ำทะเลและอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลมีค่าสูงในเดือนเมษายนถึงสิงหาคม สารออร์แกโนทินจะมีการละลายน้ำได้ดีกว่าช่วงเดือนอื่นๆ โดยผลการตกจมและการแขวนลอยใหม่ด้วยไตรบิวทิลทินคลอไรด์และวิเคราะห์ด้วยสมการสมดุลมวลสารและแบบจำลองแผนภาพ พบว่าไตรบิวทิลทินมีการตกจมพร้อมการดูดติดตะกอนอย่างรวดเร็วเมื่อมีการละลายในน้ำ ระบบเข้าสู่สภาวะสมดุลระบบหลังจากเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง และมีการแขวนลอยใหม่ของไตรบิวทิลทินในอัตราที่ต่ำมาก ดังนั้นการปนเปื้อนของสารออร์แกโนทินตามแนวชายฝั่งเมืองเก่าสงขลาจึงมีการชะละลายจากแหล่งกำเนิดในบริเวณที่สำรวจมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และสารออร์แกโนทินมีการลดความเป็นพิษของไตรบิวทิลทินเป็น โมโนบิวทิลทิน นอกจากนี้สารออร์แกโนตินที่สะสมมีอยู่ปริมาณน้อยในตะกอนมีโอกาสแขวนลอยใหม่และแพร่กระจายได้ยาก
Fulltext
[
Download
]
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU