หน้าแรก
เว็บไซต์สถาบันวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
แสดงข้อมูลนักวิจัย
ค้นหาข้อมูลนักวิจัย
โครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
แสดงโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
ค้นหาโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้น
รายงานข้อมูล
คู่มือการใช้งาน
คู่มือสำหรับนักวิจัย
คู่มือสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
เข้าสู่ระบบ
ชื่องานวิจัย
ชื่องานวิจัยภาษาไทย
การวิจัยเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ชื่องานวิจัยภาษาอังกฤษ
-
ผู้ร่วมทำงานวิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผศ. เปรมใจ เอื้ออังกูร
รายละเอียดงานวิจัย
แหล่งทุนวิจัย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาการวิจัย
สาขาการศึกษา
ปีงบประมาณ
2548
ระยะเวลาดำเนินการวิจัย
1 ปี
งบประมาณ
ไม่ระบุ
พื้นที่ทำการวิจัย
ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา
ผู้ประสานงานในพื้นที่
ไม่ระบุ
สถานะของผู้ประสานงาน
ไม่ระบุ
ประเภทงานวิจัย
เดี่ยว
สถานะงานวิจัย
ดำเนินการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ
พัฒนาวิชาชีพครู, วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม, โรงเรียนร่วมพัฒนา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประางค์เืพื่อกำหนดโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม และกำหนดแนวทางการติดตามประเมินผลการพัฒนาครูในโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการการกำหนดโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู มีลำดับขั้นดังนี้ กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ เสนอชื่อโรงเรียนโดยภาคีระดับหน่วยงาน วัดระดับความพร้อมของโรงเรียนตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ และคัดเลือกโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ผลการดำเนินงานได้โรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ปีการศึกษา 2548 จำนวน 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดเกาะถ้ำ และโรงเรียนมัธยมสิริ-วัญวรี 2 สงขลา
2. การสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู ประกอบด้วย กระบวนการสนับสนุนของผู้วิจัย โดยวิธีสร้างความเข้าใจให้แก่ภาคี สร้างความตระหนักแก่ผู้เกี่ยวข้อง จัดทำเวทีระดมสมอง จัดสรรงบประมาณ แจ้งแผนการปฏิบัติงานเป็นช่วง ๆ ดำเนินงานตามแผนติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียน โดยวิธีการศึกษาสารสนเทศ เชิญประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ ลงมือปฏิบัติการ ผลปรากฎว่า ทั้งโรงเรียนวัดเกาะถ้ำและโรงเรียนมัธยมสิริ-วัณวรี 2 สงขลา ได้แผนปฏิบัติการที่ชัดเจน สำหรับการพัฒนาครูทั้งโรงเรียนในเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดใช้วงจร PDCA ผลการดำเนินงานปรากฏว่า ครูโรงเรียนวัดเกาะถ้ำและโรงเรียนมัธยมสืรื-วัณวรี 2 สงขลา ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดในระดับมาก และสามารถนำความรู้ไปใช้สอนในระดับมาก ส่วนการเป็นครูพี่เลี้ยงให้แก่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ครูโรงเรียนมัธยมสิริ-วัณวรี 2 สงขลา มีความมั่นใจมาก สำหรับครูโรงเรียนวัดเกาะถ้ำ มีความมั่นใจในระดับปานกลาง
3. การกำหนดแนวทางการติดตามประเมินผลการพัฒนาครูทั้งโรงเรียน ใช้วงจร PDCA ผลการดำเนินงานปรากฏว่า ครูโรงเรียนมัธยมสิริ-วัณวรี 2 สงขลา และโรงเรียนวัดเกาะถ้ำ มีความสามารถในการนำความรู้ไปจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ครูทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียน และครูทั้ง 2 โรงเรียนสามารถเป็นครูพี่เลี้ยงและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับมากร้อยละ 60 ในระดับปานกลาง ร้อยละ 30
เงื่อนไขของความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการนี้คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การให้ความร่วมมือของผู้บริหารโรงเรียน ความตั้งใจและความรับผิดชอบของครู การนิเทศอย่างเป็นกัลยาณมิตร และความสามารถในการประสานงานของผู้กระตุ้นประสาน ปัญหาของการดำเนินงานคือ การที่ครูในกลุ่มสาระเดียวกันไม่ยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน และความเคยชินของครูในการทำงานแบบเดิมๆ ที่ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ความไม่คล่องตัวของการเบิกจ่ายงบประมาณ
ในการวิจัยคร้งนี้มีข้อสังเกตบางประการ ที่เป็นประโยชน์ในการคัดเลือกและพัฒนาโรงเรียนเพื่อเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารทั้งในด้านการบริหารงานทั่วไปและการบริหารงานวิชาการ เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก
Fulltext
ไม่มีไฟล์
จำนวนการอ่าน
Best Screen Resolution
1024x768
pixel and Text Size as Medium
Copyright 2012 All Rights Reserved | Power by
IRD.SKRU